Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62631
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจริต คูณธนกุลวงศ์ | - |
dc.contributor.author | วิฑูรย์ โชคเฉลิมวัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-08-09T03:23:28Z | - |
dc.date.available | 2019-08-09T03:23:28Z | - |
dc.date.issued | 2533 | - |
dc.identifier.isbn | 9745773204 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62631 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 | - |
dc.description.abstract | กระแสน้ำทะเลในอ่าวไทยตอนบน เป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาตะกอนและสารต่าง ๆ จากชุมชนและเขตอุตสาหกรรมที่อยู่ตามแนวชายฝั่งโดยรอบ ให้กระจายออกจากบริเวณหนึ่งไปสู่บริเวณอื่น ๆ การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ จะศึกษาลักษณะของกระแสน้ำทะเลในอ่าวไทยตอนบนที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำขึ้นน้ำลง โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์วิธีไฟไนท์เอเลเมนต์ สมการของการไหลที่ใช้จะเป็นการไหลแบบเฉลี่ยตามแนวดิ่งใน 2 มิติ (two-dimensional vertically averaged hydrodynamic equation) การศึกษานี้จะทำการคำนวณหาระดับน้ำและลักษณะกระแสน้ำทะเลทั้งในเชิงขนาด และทิศทาง โดยใช้ตัวแทนในแต่ละเดือนและพิจารณาถึงอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง แรงลม และการไหลของน้ำจากแม่น้ำสายต่าง ๆ ผลจากการศึกษาพบว่า การขึ้นลงของระดับน้ำในอ่าวไทยตอนบนมีผลมาจากองค์ประกอบฮาร์โมนิกหลัก 4 องค์ประกอบ คือ M₂ , S₂ , O₁ และ K₁ ลักษณะของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยตอนบนมีพิสัยน้ำขึ้นน้ำลงน้อยที่สุดที่บริเวณปากอ่าว โดยมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าไปภายในอ่าวและมีค่าพิสัยน้ำขึ้นน้ำลงมากที่สุดที่บริเวณก้นอ่าว เวลาที่เกิดน้ำขึ้นสูงสุดหรือน้ำลงต่ำสุดที่ตำแหน่งต่าง ๆ ทั่วทั้งอ่าวจะต่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าระดับน้ำที่ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในแนวละติจูดเดียวกัน พบว่า พิสัยน้ำขึ้นน้ำลงและเวลาในการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือต่ำสุด จะมีค่าใกล้เคียงกันมาก ลักษณะกระแสน้ำทะเลในอ่าวไทยตอนบน มีทิศทางของกระแสน้ำไหลเข้าออกในแนวเหนือ-ใต้เป็นแนวหลัก ยกเว้นบริเวณก้นอ่าวจะมีทิศทางหลักของกระแสน้ำในแนวตั้งฉากกับแนวชายฝั่งและไหลวนเล็กน้อย ขนาดความเร็วสูงสุดและขนาดความเร็วเฉลี่ยของกระแสน้ำทั่วทั้งอ่าวมีค่าอยู่ระหว่าง Ø.2-Ø.8 ม./ว. และ Ø. Ø6- Ø.23 ม./ว. ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า บริเวณที่กระแสน้ำมีขนาดความเร็วน้อยที่สุด อยู่ที่บริเวณทิศใต้ของสันดอนกรุงเทพ และบริเวณที่กระแสน้ำมีขนาดความเร็วมากที่สุดอยู่ที่บริเวณปากอ่าวเยื้องมาทางด้านสัตหีบ | - |
dc.description.abstractalternative | Current in the Upper Gulf of Thailand is an important factor of the convection of sediment and any substance discharged from city and industrial area into the Gulf. This study is to analyse the tidal current pattern in the Upper Gulf of Thailand by using the finite element model. The governing equations are two-dimensional vertically averaged hydrodynamic equations. The analysis considers the current and water fluctuation pattern in monthly basis under the consideration of tide, wind and discharge from rivers. As the result of the study, the main harmonic constituents of tide in the Gulf are M₂ , S₂ , O₁ and K₁. The tidal range increases in the direction from the mouth of the Gulf towards the end of the Gulf. Time lag of the high water and low water in the Gulf is not more than two hours. The tidal ranges and its time lags give the same result in the location with the same latitude. The currents in the Gulf flow mainly in the north-south direction except at the edge of the Gulf where the flow direction trends to be perpendicular to the shoreline with small elliptical circulation. The maximum and averaged velocities in the Gulf are in the order of Ø.2- Ø.8 m/s and Ø. Ø6- Ø.23 m/s respectively. Besides, the minimum velocity area is found to be at the south of Bangkok Bar and the maximum velocity area is at the mouth of the Gulf near Sattahip. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | กระแสน้ำ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ | - |
dc.subject | กระแสน้ำ -- อ่าวไทย | - |
dc.subject | น้ำขึ้นน้ำลง | - |
dc.subject | ลม | - |
dc.subject | ไฟไนต์เอลิเมนต์ | - |
dc.subject | การวิเคราะห์ฮาร์มอนิก | - |
dc.subject | ชลศาสตร์ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ | - |
dc.subject | Ocean currents -- Mathematical models | - |
dc.subject | Ocean currents -- Thailand, Gulf of | - |
dc.subject | Tidal currents | - |
dc.subject | Winds | - |
dc.subject | Finite element method | - |
dc.subject | Harmonic analysis | - |
dc.subject | Hydrodynamics -- Mathematical models | - |
dc.title | การวิเคราะห์ลักษณะกระแสน้ำทะเลในอ่าวไทยตอนบน | - |
dc.title.alternative | Current pattern analysis of the upper gulf of Thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vitoon_ch_front.pdf | 10.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitoon_ch_ch1.pdf | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitoon_ch_ch2.pdf | 15.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitoon_ch_ch3.pdf | 19.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitoon_ch_ch4.pdf | 61.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitoon_ch_ch5.pdf | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vitoon_ch_back.pdf | 61.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.