Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorวิทยา อังเรขพาณิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-09T08:23:25Z-
dc.date.available2019-08-09T08:23:25Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจลักษณะของกระบวนการสื่อสารในองค์การของกระบวนการยุติธรรมทางศาล และสำรวจสภาพปัญหาพื้นฐานทางการสื่อสารในองค์การ ที่มีผลกระทบต่อปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี พร้อมทั้งหาข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา การศึกษาเฉพาะกรณีการดำเนินงานของศาลจังหวัดลำปาง พบว่า ปัญหาทางการสื่อสารได้แก่ ข้อจำกัดของขีดความสามารถของช่องทางการสื่อสาร ซึ่งทำให้การถ่ายทอดสารสนเทศเกี่ยวกับคดีจากขั้นตอนหนึ่งไปสู่อีกขั้นตอนหนึ่งไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาทิ ขั้นตอนการรับฟ้องซึ่งมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ทำให้คำฟ้องคดีต่าง ๆ ขึ้นไปสู่การพิจารณาคดีของศาลล่าช้า หรือกรณีบัลลังก์และห้องพิจารณามีจำนวนจำกัด ทำให้คดีส่วนหนึ่งต้องถูกยืดระยะเวลาออกไป เพราะต้องรอการใช้บัลลังก์และห้องพิจารณา นอกจากนั้น การมีอัตรากำลังผู้พิพากษาประจำศาลเพียง 6-8 อัตรา ต่อจำนวนคดีเฉลี่ยปีละ 1,500-1,600 คดี ก็นับได้ว่าเป็นปัญหาข้อจำกัดของช่องทางการสื่อสาร ที่จะให้คดีต่าง ๆ ถ่ายทอดหรือส่งผ่านไปสู่ขั้นตอนการพิพากษาคดี ปัญหาทางการสื่อสารดังกล่าว อาจมีแนวทางแก้ไขได้โดยการปรับปรุงช่องทางการสื่อสารให้มีขีดความสามารถสมดุลกับปริมาณสารสนเทศที่จะส่งผ่าน และในขณะเดียวกัน ก็หาวิธีการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ของช่องทางการสื่อสารในขั้นตอนต่าง ๆ ตลอดจนแสวงหาแนวทางปรับปรุงโครงสร้างของกระบวนการสื่อสารในบางขั้นตอน เพื่อเอื้ออำนวยให้การไหลเวียนของสารสนเทศเกี่ยวกับคดีในแต่ละขั้นตอนเป็นไปโดยสะดวกราบรื่นและต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้การพิจารณาพิพากษาคดีสามารถดำเนินไปด้วยความรวดเร็วขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThis study was to surver the process of organizational communication in jurisdicial process and to finding on its problem that effected to the court delay. As in case of the provincial court of Lampang, the limitation capacity of the communication channels has been found to be maincause of the court delay and result in effectiveness of the information flow i.e. the process of determined trial case and insufficient manpower. More ever duration of time for the court dockets is highly attached to the occupied trial rooms as well as quantity of trial cases. It is also found that there are only 6-8 juries in Lampang court to undertake 1,500-1,600 cases per year which naturally limit the communication channels to flow up to judgement. In solving the mentioned problem, it is recommened to improve capacity of communication channels where information has to be flown. Structure of communication process is also aimed to be reconsidered so that successful information flow would be continued which would enable quick judgement.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการสื่อสารกับการพัฒนา-
dc.subjectการสื่อสารในองค์การ-
dc.titleการพัฒนากระบวนการสื่อสารในองค์การของกระบวนการยุติธรรมทางศาล เพื่อไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดลำปาง-
dc.title.alternativeCommunication process development in the organization of gurisdicial process concerning the problem of delay in jurisdiction : A case study of the provincial court of Lampang / Withaya Angrekapanich-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Withaya_an_front.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_ch1.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_ch2.pdf9.78 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_ch3.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_ch4.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_ch5.pdf12.91 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_ch6.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_an_back.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.