Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62782
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทยา สุจริตธนารักษ์-
dc.contributor.authorสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-23T07:25:52Z-
dc.date.available2019-08-23T07:25:52Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745680133-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62782-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530-
dc.description.abstractประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาแล้ว 5 ฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ.2504-2529 ในระยะเริ่มแรกมีแนวความคิดมุ่งเน้นความเจริญเติบโตโดยส่วนรวมเป็นอันดับสูงสุด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจ สังคม ระหว่างกลุ่มชนและระหว่างพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ทำให้การพัฒนาชนบทมิได้รับการเอาใจใส่แก้ไขอย่างจริงจัง จนกระทั่งในช่วงปลายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2500-2524) ปัญหาความยากจนในชนบท ซึ่งได้สะท้อนออกมาในรูปของการขาดอาหาร การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และความไม่รู้ของชาวชนบท โดยจะพบเห็นได้ชัดในเขตชนบทยากจน ดังนั้น ในการพยายามแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ได้มีระบบการบริหารงานพัฒนาชนบทภายใต้ระบบ “กชช.” (คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ) เริ่มใช้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 1. แยกกันระหว่างงบประมาณเพื่อการพัฒนา และงบประมาณเพื่อการบริหาร 2. โครงการที่เข้ากรอบนโยบายต้องแก้ปัญหาความยากจนแท้จริง และเกิดผลระยะสั้น สำหรับงานใดที่รัฐต้องลงไปทำเองเป็นหน้าที่อยู่แล้ว จะไม่มีในกรอบนโยบาย 3. โครงการเหล่านั้นต้องมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และประชาชนต้องการไม่ใช่กระทรวงยัดเยียดให้ โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วม คือ ร่วมขอ ร่วมคิด ร่วมเห็น การบริหารงานพัฒนาชนบทภายใต้ระบบ “กชช.” (คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ) นี้ เงื่อนไขที่วางไว้จะประสพผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดทำแผนพัฒนาตำบล เป็นแผนพัฒนาในระดับล่างสุดในแง่องค์การ ประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน เป็นองค์กรพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากที่สุดในระบบ กชช. ซึ่งการศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาตำบล จะได้รู้ว่าการพัฒนาตำบลสะท้อนความต้องการของประชาชนหรือไม่ และเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้มาไว้หรือไม่ แผนพัฒนาตำบลที่ดีต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนได้ และสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่วางไว้ จากการศึกษาสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ความสัมพันธ์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทในระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีผลโดยตรงกับการจัดทำ การใช้แผนพัฒนาตำบล ต้องมีการปรับปรุง เพื่อให้มีเอกภาพ ประหยัด จะทำให้แผนพัฒนาตำบลได้รับประโยชน์สูงสุดกับราษฎร 2. จุดมุ่งหมายที่รัฐบาลต้องการให้การพัฒนาเป็นแบบล่างขึ้นบน (bottom-up) เน้นการมีส่วนร่วมของราษฎร โดยให้ความสำคัญกับองค์การท้องถิ่น คือสภาตำบล และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสัมผัสเรียนรู้ มีสิทธิมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น อันจะเป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผลที่ออกมาก็ได้ว่าการพัฒนาเป็นแบบล่างขึ้นบน (bottom-up) แต่จุดล่างสุดอยู่ที่สภาตำบล ซึ่งยังไม่สามารถเน้นการมีส่วนร่วมของราษฎรได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนได้สัมผัสเรียนรู้ มีสิทธิมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น จึงยังไม่เกิดขึ้นกับราษฎร เกิดขึ้นแต่ในระดับสภาตำบล เท่ากับยังไม่เป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้กับราษฎรโดยทั่วไป 3. แผนพัฒนาตำบลสามารถสนองความต้องการของประชาชนได้ ถ้าราษฎรมีส่วนร่วม คือ ร่วมขอ ร่วมคิด ร่วมเห็น ถ้ายังไม่สามารถทำให้ราษฎรมีส่วนร่วมได้ แผนพัฒนาตำบลก็ไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนได้ สำหรับผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาตำบลนั้น จะขจัดความยากจนของราษฎรได้ก็เท่าที่มีแผนงานโครงการของ 5 กระทรวงลงไป เป็นโครงการขนาดเล็กที่สามารถทำโครงการเสร็จภายในปีงบประมาณ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลที่จะขจัดความยากจนของราษฎรเท่านั้น 4. ปัจจัยที่ทำให้แผนพัฒนาตำบลสามารถสนองความต้องการของประชาชนและตรงตามจุดมุ่งหมายที่รัฐบาลวางไว้ ก็คือ 4.1 เอกภาพในการพัฒนาชนบท 4.2 ความสามารถในการบริหารการพัฒนาชนบทของผู้ว่าราชการจังหวัด 4.3 ความสำนึกในคุณค่าของแผนพัฒนาตำบลของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาชนบททุกระดับชั้น และปัจจัยที่ทำให้แผนพัฒนาตำบลไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ก็คือ การขาดเอกภาพในการพัฒนาชนบท การขาดความสำนึกในคุณค่าของแผนพัฒนาตำบลของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาชนบททุกระดับชั้น ดังนั้น แผนพัฒนาตำบลจะดีหรือไม่ ซึ่งจะสะท้อนความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่วางไว้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลการศึกษาที่สรุปมาดังกล่าวแล้วข้างต้น.-
dc.description.abstractalternativeFive social and economic developmet plans have been implemented in Thailand during 1961-1968. The earlier plan laid emphasis on rapid economic growth and in that process caused social and economic disparity among various groups and localities while rural areas were left uncared for as late as the last phase of the fourth plan. As a consequence, poverty in rural areas was very much highlighted. Efforts are then made to remedy this situation. The National Rural Development Committee is entrusted to administer rural development programs which start with the fifth plan, laying three conditions for implementation as follows: 1. Separation of budget for development and administrative purposes. 2. Programs must be geared to real solution of poverty within short period of time. Those activities which are mormal functions of the government will not be included within the program. 3. Local people's participation is called for. They must be included in the process of submitting, shaping up and withnessing the programs. Programs must not be put into their hands by government authority. Condition of success of the administration of rural development programs by the National Rural Development Committee is on the Tambol or Commune development plan which is the plan prepared by the lowest level in the scheme of development plan which encompasses local people's representatives. It is this commune development plan that can reflect local people's need while taking into considaration policy set by the government. And this is the subject of this study. Findings from the study are as follows : 1. Coordination of various organs at national, provincial and district levels in the effort to implement rural development plan must be improved to achieve unity of plan[n]ing so that rural people will truly benefit from it. 2.The government would like see the bottom-up pattern of development which calls for people's participation. It also gives more credit to local organ, that is the Commune Council. This organ is envisioned as being able to solicit and articulate local people's interest in local affairs, and as such contrubutes to promote democratic system. This study finds out that the botteom-up pattern of development is possible yet the commune council cannot solicit people's participation. It fails to encourage people to participate in rural development although the commune council can perfrorm that function. 3. Commune development plan can account for the need of the people only if the people take part in the process. Otherwise, it will fail to respond to people's need. As for rural poverrty, the remedy is possible only through five-minitry programs which are small programs of one budget year. Yet it is an effort of the government to solve rural poverty. 4. Factors contributing to serving the real need of the people within the framework of commune development plan are the unity of rural development program; administrative ability of the governor and the realization of the value of the commune development plan by all concerned. Absence of these factores causes failure in rural development.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectแผนพัฒนาตำบล-
dc.subjectการพัฒนาชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออก)-
dc.subjectสภาตำบล-
dc.subjectคลองใหญ่ (ตราด)-
dc.subjectตราด -- ภาวะสังคม-
dc.titleผลกระทบของแผนพัฒนาตำบลที่มีต่อการพัฒนาตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด-
dc.title.alternativeImpact of tambol development plan to tombol development : a case study of Amphoe Khlong Yai, Trat Province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการปกครอง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suebsak_Ea_front_p.pdf15.04 MBAdobe PDFView/Open
Suebsak_Ea_ch1_p.pdf11.69 MBAdobe PDFView/Open
Suebsak_Ea_ch2_p.pdf71.05 MBAdobe PDFView/Open
Suebsak_Ea_ch3_p.pdf39.8 MBAdobe PDFView/Open
Suebsak_Ea_ch4_p.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open
Suebsak_Ea_back_p.pdf55.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.