Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62815
Title: การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการของผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Study of unit cost of the out-patient in the department of medicine, Chulalongkorn hospital
Authors: สุกัลยา คงสวัสดิ์
Advisors: บดี ธนะมั่น
ภิรมย์ กมลรัตนกุล
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: บริการทางการแพทย์ -- ค่าใช้จ่าย
การบริบาลผู้ป่วยนอก
การประมาณต้นทุน
Medical care, Cost of
Ambulatory medical care
Cost estimates
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการของผู้ป่วยนอกแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ทำการศึกษาในมุมองของผู้ให้บริการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนทั้ง 3 ประเภทได้แก่ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ซึ่งอาศัยการแบ่งหน่วยต้นทุนออกเป็น 3 หน่วยต้นทุน คือ หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-revenue producing post centre:NRPCC) หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ (Revenue producing cost centre :RPCC) และหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย (Patient service:PS) โดยเก็บข้อมูลในปีงบประมาณ 2533 ในการคำนวณหาต้นทุนทั้งหมดได้ใช้วิธีการจัดสรรต้นทุนแบบการใช้สมการพีชคณิตเส้นตรง (Simultaneous equation method) มาแก้ปัญหาการกระจายต้นทุนในระหว่างหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า ในแผนกอายุรกรรมตึกผู้ป่วยนอกมีอัตราส่วนของต้นทุน ค่าแรง: ค่าวัสดุ: ค่าลงทุน =59:28:13 แต่เมื่อทำการกระจายต้นทุนโดยสมการพีชคณิตเส้นตรงแล้วจะพบว่าอัตราส่วนของต้นทุน ค่าแรง:ค่าวัสดุ :ค่าลงทุน = 10:80:10 ต้นทุนที่ไม่ได้เรียกเก็บค่าบริการ (Routine service cost) และต้นทุนที่เรียกเก็บค่าบริการเท่ากับ 36% และ 64% ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอกในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เท่ากับ 253 บาท โดยที่ต้นทุนต่อหน่วยบริการของคลินิกอายุรกรรมทั่วไป คลินิกอายุรกรรมโรคผิวหนัง และคลินิกอายุรกรรมเฉพาะโรคเท่ากับ 266, 217 และ 251 บาทตามลำดับ
Other Abstract: The unit cost of the out-patient in the Department of Medicine, Chulalongkorn Hospital was studied by using retrospective and prospective data collection in the fiscal year of 1990. All departments of the OPD are classified as one of the three cost centres : non-revenue producing, revenue producing and patient service cost centres. Total cost are calculated from labour cost, material cost and capital cost in each centre. Costs will then be allocated by the simultaneous equation method using appropriate allocation criteria. The total direct cost of the Department of Medicine consists of 59% labour cost, 28% material cost and 13% capital cost. However, after the cost allocation, the full cost of providing services at this department was 10% labour cost, 80% material cost and 10% capital cost. Routine service cost was 36% of the total cost and the rest was the cost from revenue producing cost centre. The unit cost of the out-patient in the Department of Medicine was 253 Baht. The unit cost of the general medicine clinic, dermatology clinic and specialty clinic were 266, 217 and 251 Baht respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62815
ISBN: 9745786632
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukalaya_ko_front_p.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_ch1_p.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_ch2_p.pdf16.65 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_ch3_p.pdf9.04 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_ch4_p.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_ch5_p.pdf11.72 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_ch6_p.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Sukalaya_ko_back_p.pdf27.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.