Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62862
Title: การซ้ำคำในภาษาเมี่ยน-เย้า
Other Titles: Reduplication in Mien-Yao
Authors: สุดจิตต์ วิชชุโรจน์
Advisors: สุดาพร ลักษณียนาวิน
วิจินตน์ ภาณุพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาเย้า -- การซ้ำคำ
ภาษาศาสตร์
Yao language (Southeast Asia) -- Reduplication
Linguistics
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะจำแนกวิธีการและรูปแบบของการซ้ำคำในภาษาเมี่ยน-เย้า ตลอดจนศึกษาหน้าที่ทางอรรถศาสตร์และข้อจำกัดของการซ้ำแต่ละแบบ การซ้ำคำในภาษาเมี่ยน-เย้ามี 2 วิธี คือวิธีที่ 1 เป็นกระบวนการสร้างคำด้วยรูปแบบทางเสียงโดยคำซ้ำประเภทนี้สร้างขึ้นจากคำตั้ง วิธีที่ 2 เป็นกระบวนการสร้างคำด้วยรูปแบบทางเสียงโดยไม่มีคำตั้ง คำซ้ำประเภทที่ 2 นี้ มีความหมายจากรูปลักษณ์ทางเสียงของคำ การซ้ำประเภทแรกจำแนกได้เป็น 7 รูปแบบ รูปแบบที่ W1 สร้างคำซ้ำซึ่งมีความหมายแสดงการดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสร้างคำจากคำตั้งที่เป็นบทแสดง คือ คำกิริยาไม่แสดงออกอาการเคลื่อนไหว รูปแบบที่ W2, W3 และ W4 สร้างคำซ้ำซึ่งมีความหมายของลักษณะหรืออาการซ้ำๆ และการไม่อยู่นิ่งโดยสร้างคำจากคำตั้งที่เป็นบทแสดง คือคำคุณศัพท์และคำกิริยาแสดงอาการเคลื่อนไหว รูปแบบที่ W5 สร้างคำซ้ำ ซึ่งแสดงความหมายของความเป็นกลุ่มก้อนของนามที่คำซ้ำนี้ขยายโดยสร้างคำซ้ำจากคำตั้งที่เป็นบทแสดงที่เป็นคำคุณศัพท์ รูปแบบที่ 6 สร้างคำซ้ำซึ่งทำหน้าที่เป็นคำนามจากคำตั้งที่เป็นบทนาม คำซ้ำจะมีความหมายของการแยกแยะ รูปแบบที่ 7 สร้างคำซ้ำซึ่งทำหน้าที่เป็นบทนามและบทแสดงจากคำตั้งที่เป็น คำลักษณะนาม และคำคุณศัพท์หรือคำกิริยาไม่แสดงอาการเคลื่อนไหวตามลำดับ โดยมีความหมายแสดงการเน้นย้ำ สำหรับคำซ้ำที่เป็นรูปลักษณ์ทางเสียงนั้น ทุกประเภททำหน้าที่เป็นคำกิริยาแสดงอาการเคลื่อนไหว หรือ กริยาวิเศษณ์ และแสดงความหมายของลักษณะอาการซ้ำๆ และการไม่อยู่นิ่ง
Other Abstract: This research work aims at classifying the types and patterns of reduplication in Mien-Yao. It also includes the study of the semantic functions and the restrictions of each pattern. Two types of reduplication are discernible. One is a derivative morpho-phonological process, in which reduplicatives are derived from base words. The other is a euphonic morpho-phonological process. Reduplicatives of the second type have no base words, they are characterized rather by sound iconicity. There are seven distinct patterns for reduplication of the first type. Pattern W1 derives reduplicatives signifying continuity from predicative elements which are non-mobility verbs. Patterns W2, W3 and W4 derive reduplicatives signifying repetitivity and mobility from predicative elements which are adjectives and mobility verbs. Pattern W5 derives reduplicatives which give the meaning of inclusiveness to the nouns they modify from adjectives. Pattern W6 derives reduplicatives which function as nouns with the meaning of individuality from nominative elements. Pattern W7 derives reduplicatives which function as nominative and predicative elements from classifiers, and adjectives or non-mobility verbs respectively, both of which signify intensification. As for reduplicatives of the euphonic types, they all function either as mobility verbs or adverbs and they signify repetitivity and mobility.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62862
ISBN: 9745793329
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudjit_wi_front_p.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_ch1_p.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_ch2_p.pdf10.67 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_ch3_p.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_ch4_p.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_ch5_p.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_ch6_p.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
Sudjit_wi_back_p.pdf14.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.