Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62867
Title: การวิเคราะห์ผลได้และผลเสียของทางเลือกในการปรับปรุงทางหลวง : กรณีศึกษาของทางสาย 314 ฉะเชิงเทรา-บางปะกง
Other Titles: Benefit and cost analysis of alternatives for highway improvement : a case study of RT. 314 Chachengsao-Bang Pakong
Authors: สุดา เหลืองโรจนกุล
Advisors: ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ทางหลวง -- แง่เศรษฐกิจ
ทางหลวง -- ไทย -- แง่เศรษฐกิจ
ทางหลวง -- ต้นทุนและประสิทธิผล
Roads -- Thailand -- Economic aspects
Roads -- Cost effectiveness
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สภาพผิวจราจรที่ชำรุดทรุดโทรมของทางหลวงแผ่นดินสายรองหมายเลข 314 ฉะเชิงเทรา-บางปะกงในปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดสภาพการจราจรคับคั่ง อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่ค่อนข้างสูง และการซ่อมแซมที่บ่อยครั้ง เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงทางสายนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ทางเลือกสำหรับการปรับปรุงทางหลวงรวม 3 ทางเลือกถูกหยิบมาเป็นประเด็นศึกษาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ในเชิงการเปรียบเทียบผลได้และต้นทุน ทางเลือกที่หนึ่งได้แก่การบูรณะทางหลวงบนคันทางเดิม ทางเลือกที่สองได้แก่ การก่อสร้างคันทางใหม่ และทางเลือกที่สามได้แก่ การก่อสร้างคันทางใหม่และบูรณะคันทางเดิมด้วย จากการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่ายและอัตราตอบแทนภายในของโครงการ พบว่าทางเลือกที่สามเป็นทางเลือกที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจและเป็นไปได้มากที่สุดนอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการก็ยืนยันความเป็นไปได้ของโครงการตามทางเลือกที่สามนี้ด้วย
Other Abstract: The deteriorating surface condition of the Secondary National Highway No. 314 Chachoengsao-Bang Pakong is now giving rise to traffic congestion, traffic accidents, and frequent maintenance. It is apparent that the improvement of the route must be done to enhance its servicing efficiency. Three alternatives of highway improvement are studied in terms of comparative benefits and costs. First, the reconstruction of the old highway; second, the construction of the new highway replacing the old one; and third, the construction of the new highway with the reconstruction of the old one as well. By calculating the Net Present Value, the Benefit-Cost Ratio, and the Internal Rate of Return in respect of each alternative, the study finds the third alternative to be the most feasible and profitable. Subsequent sensitivity analyses also confirm the feasibility of the said project.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62867
ISBN: 9745762938
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_le_front_p.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Suda_le_ch1_p.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
Suda_le_ch2_p.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open
Suda_le_ch3_p.pdf18.71 MBAdobe PDFView/Open
Suda_le_ch4_p.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Suda_le_back_p.pdf9.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.