Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63315
Title: การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติ
Other Titles: Development Of A School Management System According To The Desirable National Core Values Enhancement
Authors: วรพล อังกุรัตน์
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
วลัยพร ศิริภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th
Walaiporn.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติ 3) พัฒนาระบบบริหารโรงเรียนตามแนวทางการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติ ใช้การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรจำนวน 396 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ครู เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์ แบบสำรวจค่านิยม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ ค่าความต้องการจำเป็น (PNI) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติแบ่งออกเป็น 2 ด้าน (1) ค่านิยมที่เป็นจุดหมายปลายทาง ประกอบด้วย ความภาคภูมิใจในตนเอง ความสำเร็จในชีวิต การมีชีวิตที่สบายพอควรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความเสมอภาค  ความสงบสุขทางใจ  การมีหลักธรรมทางศาสนา ความมั่นคงของชาติ การมีมิตรที่ดี ความรักอิสระเสรี การช่วยเหลือผู้อื่น และ (2) ค่านิยมที่เป็นเครื่องมือ ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์  ความรับผิดชอบ  ความกตัญญูรู้คุณ  การปรับตัวเข้ากับโอกาสจังหวะและสิ่งแวดล้อม  การรักษาน้ำใจกัน การบังคับตนเอง  ความมีเมตตา  ความสุภาพ ความเป็นตัวของตัวเอง การมีความสามารถสูง 2) ค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์ของระบบบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน ค่าถัวเฉลี่ยของความต้องการจำเป็นของค่านิยมที่เป็นเครื่องมือสูงกว่าค่านิยมที่เป็นจุดหมายปลายทาง และค่าความต้องการจำเป็นของกลุ่มการนำองค์การอยู่ในระดับสูงที่สุด 3) ระบบบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติคือ “ระบบบริหารโรงเรียนมุ่งเน้นการนำองค์การเพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่เป็นเครื่องมือ”
Other Abstract: The objectives of this research were (1) to study the conceptual framework suitable for national core values (2) To analyze the current and desired state for school management system according to the desirable national core values enhancement. A descriptive approach was used. (3) To Develop a School Management System According to The Desirable National Core Values Enhancement. The population of the study was 396 public schools in Thailand. In total, were both directors head of divisions and teachers. Questionnaires, descriptive statistics and a Modified Priority Needs Index (PNI) were applied as the research instruments. The results demonstrated that: 1) There are two aspects of national core values: (1) Terminal Values are Self-Respect, A Sense of Accomplishment, A Comfortable Life with Sufficiency Economy, Equality, Inner Harmony, Religious principles, National Security, True Friendship, Freedom and (2) Instrumental Values are Helpfulness, Honesty, Responsibility, Gratitude, Adaptation, Broad-Mindedness, Self-Control, merciful, Politeness, Independence and Capability 2) The average figure of the desirable stage of school management system according to the desirable national core values enhancement was higher than the current state in all aspects. 3) A school management system according to the desirable national core values enhancement are “School Management System Focusing on Leadership to Enhance Instrumental Values”
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63315
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.538
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.538
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584223327.pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.