Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63526
Title: | วัสดุเชิงประกอบแกรฟีน/พอลิแล็กทิกแอซิดที่ขึ้นรูปด้วยการพิมพ์สามมิติ |
Other Titles: | 3D-printed graphene/poly(lactic acid) composites |
Authors: | อภิวัฒน์ พงศ์วิสุทธิรัชต์ |
Advisors: | ประณัฐ โพธิยะราช ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยในการขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกชีวภาพด้วยเทคนิคการพิมพ์สามมิติต่อสมบัติของชิ้นทดสอบ ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ ทิศทางการพิมพ์ชิ้นทดสอบ การตัดกันของโครงด้านในชิ้นทดสอบ และปริมาณการเติมชิ้นทดสอบ ส่วนสมบัติที่ศึกษา ได้แก่ สมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน ดัชนีการหลอมไหล สมบัติทางไฟฟ้า และสัณฐานวิทยา นอกจากนี้ยังศึกษาความเป็นไปได้ของการเตรียมเส้นวัสดุเชิงประกอบของพอลิแล็กทิกแอซิดที่เสริมแรงด้วยอนุภาคแกรฟีนเพื่อใช้ในการพิมพ์สามมิติ และผลต่อสมบัติของชิ้นงานที่เตรียมได้ การทดลองเริ่มจากการสังเคราะห์แกรฟีนออกไซด์จากผงแกรไฟต์ด้วยวิธีที่ดัดแปลงมาจากวิธีของฮัมเมอร์ จากนั้นรีดิวซ์แกรฟีนออกไซด์ให้กลายเป็นแกรฟีนโดยใช้กรดแอลแอสคอร์บิกเป็นตัวรีดิวซ์ ตรวจสอบลักษณะเฉพาะของอนุภาคแกรฟีนที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี เอกซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี และเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันสเปกโทรสโกปี แกรฟีนที่สังเคราะห์ได้ถูกนำมาเตรียมเป็นมาสเตอร์แบตช์กับพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยเทคนิคการตกตะกอนร่วมในเมทานอล แล้วจึงนำมาสเตอร์แบตช์มาผสมกับเม็ดพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการผสมแบบหลอมเหลวในเครื่องอัดรีดสกรูคู่เพื่อขึ้นรูปเป็นเส้นวัสดุเชิงประกอบสำหรับการพิมพ์สามมิติ และม้วนเก็บเส้นด้วยเครื่องม้วนเก็บที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ผลการทดลองพบว่า ทิศทางการพิมพ์ชิ้นทดสอบ การตัดกันของโครงด้านในชิ้นทดสอบ และปริมาณการเติมชิ้นทดสอบ มีผลต่อสมบัติของชิ้นทดสอบ กล่าวคือทิศทางการพิมพ์ชิ้นทดสอบที่เหมาะสมกับลักษณะงานจะช่วยเพิ่มสมบัติเชิงกลแก่ชิ้นงาน การตัดกันของโครงด้านในชิ้นทดสอบจะให้สมบัตเชิงกลที่ต่างกันโดยแบบ +45º/-45º จะได้ชิ้นงานที่มีความยืดตัวสูงสุด ณ จุดขาดที่สูงกว่า สามารถรับแรงกระแทกได้ดีว่า ในขณะที่แบบ 0º/+90º จะได้ชิ้นงานที่มีความทนแรงดึงและความทนแรงดัดโค้งที่สูงกว่า ส่วนการลดปริมาณการเติมชิ้นทดสอบจะส่งผลต่อสมบัติเชิงกลที่ลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ผลของการเติมอนุภาคแกรฟีนลงในพอลิแล็กทิกแอซิดต่อสมบัติของชิ้นทดสอบที่ขึ้นรูปด้วยการพิมพ์สามมิติ พบว่าเมื่อปริมาณการเติมแกรฟีนมากขึ้นชิ้นทดสอบจะมีสมบัติด้านแรงดึงและความทนแรงกระแทกที่ลดต่ำลง ส่วนความทนแรงดัดโค้งที่มีค่าเพิ่มขึ้นที่ปริมาณการเติมที่ 2 phr และลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณการเติม เนื่องจากการจับตัวรวมกันของอนุภาคแกรฟีน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ชิ้นงานที่เติมแกรฟีนมีดัชนีการหลอมไหล และอุณหภูมิการสลายตัวที่สูงขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มสมบัติต้านไฟฟ้าสถิตให้กับวัสดุเชิงประกอบพอลิแล็กทิกแอซิดได้ |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study the effect of processing parameters on the properties of polylactic (PLA) acid samples formed by the 3D printing technique. The processing parameters that were varied are the printing direction, the raster angle, and the infill percentage of the specimen. The mechanical properties, the thermal properties, the melt flow index, the electrical properties and the morphology of the specimen were then investigated. There is also an attempt to prepare nanocomposite filaments for the 3D printing of polylactic acid reinforced with graphene. The effects of the amount of graphene on properties of 3D-printed graphene/PLA nanocomposite samples were studied. Initially, graphene oxide was synthesized from graphite by the improved Hummer's method. Graphene was then obtained by the reduction of graphene oxide using L-ascorbic acid as a reducing agent. The characteristics of prepared graphene were examined by FT-IR, XPS, and XRD technique. The prepared graphene was firstly mixed with polylactic acid by the co-agglulation technique in methanol to obtain the masterbatch. Then, the masterbatch was melt-mixed with PLA in a twin-screw extruder in order to acquire composite filaments for 3D printing and rolled-up with a self-made rolling machine. The results indicated that print direction, raster angle of a specimen, and the test specimen loading affected properties of the 3D printed specimens. The appropriate direction of printing the specimens improved the mechanical properties, whereas the raster angle of the specimen gave different mechanical properties. The +45º/-45º gave the higher elongation at break and impact strength while the 0º/+90º provided higher tensile strength and flexural strength. Reducing of the infill percentage significantly deteriorated the mechanical properties. In the case of graphene/PLA composites, when the amount of graphene increased, the tensile properties and the impact strength of the specimens were lower. The flexural strength increased by the addition of 2 phr of graphene then decreased with the higher amount due to aggregation of graphene particles which were observed by the scanning electron microscope. The graphene/PLA composites possess the higher melt flow index and thermal degradation temperatures as well as enhanced antistatic properties. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63526 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.831 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.831 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5872108123.pdf | 5.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.