Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6366
Title: พัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมนนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: An evolution housing settlement policies in Klong Toey communities, Bangkok
Authors: วัชรพล ตั้งกอบลาภ
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ปรีดิ์ บุรณศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ที่อยู่อาศัย -- นโยบายของรัฐ
ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การย้ายที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนแออัดคลองเตยที่นับได้ว่าเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยด้วยนโยบายที่ หลากหลาย แต่ที่ผ่านมายังไม่ปรากฏว่าได้มีการศึกษาถึงพัฒนาการของนโยบายการ แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดคลองเตย ในรูปแบบที่ต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับชุมชนแออัด และเป็นบันทึกถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดที่ผ่านมา ที่สามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้วางนโยบาย ในการที่จะแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดต่อไป การศึกษานี้ เป็นการศึกษาถึงพัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย รวมถึงปัจจัย ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ผ่านมาของชุมชนแออัดคลองเตย ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยการค้นคว้าจากเอกสาร ด้วยกระบวนการวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ที่ได้สัมภาษณ์กลุ่มประชากรสองกลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้วาง นโยบายและปฏิบัติงาน และ (2) กลุ่มผู้ได้รับผลจากนโยบาย โดยกำหนดกลุ่มประชากรด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ การวางนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และมีความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดคลองเตยเป็นผู้กำหนดกลุ่ม ประชากรด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จากนั้นจึงได้นำข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ร่วมกัน ภายใต้แนวคิดทฤษฎี ตัวแบบการกำหนดนโยบายแบบแนวคิดทฤษฎีระบบ ซึ่งมีลักษณะแนวคิดสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นกับการกำหนดนโยบายการ แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดคลองเตย โดยการวิจัยนี้ได้ทดสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลด้วยการจัดการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้เข้าร่วมการสนทนา กลุ่ม คือ กลุ่มประชากรที่ได้ทำการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยใน ชุมชนแออัดคลองเตย เริ่มตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2500 ที่แก้ปัญหาโดยการไล่รื้อที่ใช้ความรุนแรง แต่ไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้ เนื่องจากเกิดการต่อต้านและการเรียกร้องสิทธิ์ของชาวบ้าน มาสู่การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยโดยการดำเนินการของการเคหะแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ภายใต้กรอบ ข้อกำหนด รวมถึงข้อจำกัดในการใช้พื้นที่จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งพัฒนาไปสู่นโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยด้วยการ (1) สร้างแฟลต (2) การวางแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดคลองเตย ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนและแบ่งปันระยะในการดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการ (2.1) การจัดเตรียมที่ดินและสาธารณูปโภค (Site and Services) (70 ไร่) (2.2) การทำการปรับปรุงชุมชนในที่ดินเดิม (Slum Upgrading) (ชุมชนล๊อค 1-6) การรื้อย้าย ทั้งแบบในพื้นที่ใกล้เคียง และไปสู่พื้นที่ชานเมือง (ชุมชนวัชรพล) โดยในช่วงดำเนินการขั้นสุดท้ายนั้น ได้มีการสร้างแฟลตเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยแบบเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาไฟไหม้ ในส่วนปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงนโยบายนั้น พบว่า มีปัจจัยหลัก คือการเรียกร้องสิทธิ์และความต้องการในรูปแบบการอยู่อาศัยของชาวชุมชน โดยมีปัจจัยเร่ง คือ ความต้องการและข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ของท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นนโยบายการแก้ปัญหา ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมในการกำหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่เป็นการสนับสนุนเงินงบประมาณจากรัฐบาล (2) ปัจจัยด้านสังคมและประวัติศาสตร์ ที่เป็นสภาพการณ์ ข้อมูล และประสบการณ์ ซึ่งเป็นอิทธิพลในการกำหนดรูปแบบในการดำเนินการ (3) ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นลักษณะความพร้อมและความเป็นไปได้ในพื้นที่ดำเนินการ (4) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ในรูปแบบการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และ(5) ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นทั้งการเชื่อถือและการต่อต้านภาพลักษณ์และการดำเนินการของการเคหะแห่งชาติ พัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในชุมชนแออัดคลองเตยนั้น พบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่ไม่ได้เป็นการพัฒนาในลักษรณะของการต่อยอดจากพัฒนาการที่มีอยู่เดิม ซึ่งพัฒนาการของการแก้ไขปัญหาในชุมชนแออัดคลองเตย โดยมากเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกชุมชน ซึ่งได้แก่ นโยบายที่มาจากแนวนโยบายของรัฐบาล
Other Abstract: Klong Toey Communities, one of the largest slums in Thailand, was developed by several housing settlement policies. There is no research that has studied the evolution of housing settlement policies. Such research may provide guidance for staff and policy makers who work in community development, especially slum areas. This research analyzed the evolution of housing settlement policies in Klong Toey communities which included factors of policymaking. Data and information was collected by content analysis and in-depth interviews. The interviewees consisted of two groups which were (1) Policy makers and staff and, (2) Klong Toey inhabitants and NGOs. The population was specified by judgment sampling. The information from documents and interviews was analyzed using a System Model. The research was validated by using a focused group interview from a part of the same population. This research found that an evolution fo housing settlement policies in Klong Toey communities began in 1957, when the solution was done by violent eviction. Nonetheless, it was not success as a result from protesting and calling for rights of the residents. After that, since 1973, National Housing Authority (NHA) has appeared to solve the housing problem with convention, regulation and restriction of using land of Port Authority of Thailand (PAT), developed to housing settlement policies by (1) Flat construction, (2) Model scheme of housing settlement solution in Klong Toeys slum by apportioning the area into specific zones, and separating the development into steps including (2.1.) Site and Services (70 rais) (2.2) Slum upgrading (Lock 1-6) and (2.3) Slum Relocation to both nearby areas and outskirts (such as Watcharaphol community). Induced by fire, flats were urgently built in the last phase. Factors effecting the evolution of policies consisted of calls for rights of residence for the inhabitants, characteristics of dwelling, and PATs land use restrictions. The factors were influence by several environmental variables which were (1) economic environment, (2) social and historical environment, (3) geological environment, (4) cultural environment and (5) trust and distrust of NHAs housing policy action. Though each stage of the evolution of housing settlement policies in Klong Toey communities was related to the others, they did not evolve by step by step. The evolution was effected by external factor that was government policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6366
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.748
ISBN: 9745327832
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.748
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharapol.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.