Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63832
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์-
dc.contributor.authorสรัญญา จันทร์ชูสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-06T03:47:57Z-
dc.date.available2019-11-06T03:47:57Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63832-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลพัฒนาการแบบผสมของสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อศึกษาแบบแผนพัฒนาการสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ (4) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝง และพัฒนาการสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูครั้งแรกใน ภาคต้น ปีการศึกษา 2554 ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,070 คน จากมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับ และมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 18 แห่งทั่วประเทศ เก็บข้อมูลจำนวน 5 ครั้ง ระยะห่างครั้งละประมาณ 2 เดือน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5, 7 และ 9 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบโค้ง การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์โมเดลพัฒนาการแบบผสม ด้วยโปรแกรม SPSS และ Mplus 7 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีคุณภาพทั้งด้านความเที่ยงและความตรงสูง สามารถนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้ 2) โมเดลพัฒนาการแบบผสมของสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มี 2 กลุ่มแฝงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด 3) แบบแผนพัฒนาการของทั้ง 2 กลุ่มแฝง มีพัฒนาการไม่เป็นเส้นตรง กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ยสถานะเริ่มต้นสุขภาวะทางจิต เท่ากับ 5.026 และ 5.250 ค่าเฉลี่ยอัตราพัฒนาการ เท่ากับ 0.414 และ 0.232 มีน้ำหนักองค์ประกอบอัตราพัฒนาการในการวัดครั้งที่ 1-5 ในรูปคะแนนมาตรฐานของกลุ่มที่ 1 เท่ากับ 0, -0.542, -0.068, 0.223, และ 0.308 ตามลำดับ และกลุ่มที่ 2 เท่ากับ 0, 0.422, 0.430, 0.478, และ 0.572 ตามลำดับ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ บุคลิกภาพมิติความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อค่าสถานะเริ่มต้นของสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ 1 ได้แก่ บุคลิกภาพมิติความไม่มั่นคงทางอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติงานครู ในกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ตัวแปรกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี บุคลิกภาพมิติความไม่มั่นคงทางอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติงานครู ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราพัฒนาการสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ 1 คือ กลวิธีเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนทางสังคมจากครูพี่เลี้ยง และเพื่อนนักศึกษา ในกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ตัวแปรกลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี บุคลิกภาพมิติความไม่มั่นคงทางอารมณ์ การรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติงานครู และการสนับสนุนทางสังคมจากครูพี่เลี้ยง ตัวแปรทำนายในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนในค่าสถานะเริ่มต้นและอัตราพัฒนาการสุขภาวะ ทางจิตในกลุ่มที่ 1 ได้ร้อยละ 39.7 และ 48.0 ตามลำดับ และในกลุ่มที่ 2 ได้ร้อยละ 60.6 และ 39.5 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to test the psychometric properties of psychological well-being scale for student teachers' professional teaching practice, (2) to develop and validate the growth mixture model of psychological well-being growth of student teachers during their professional teaching practice, (3) to study patterns of psychological well-being growth, and (4) to analyze the factors effecting their psychological well-being growth. Two-stage sampling strategy was used to select a sample of 2,070 fifth year student teachers who had practiced in professional teaching practice from 18 universities, each cohort obtained for 5 point in time with 2 month interval. The five, seven and nine point Likert scale were used to correct the data. Descriptive statistics, repeated-measure analysis of variance, curve -estimation regression analysis, Latent Growth Curve Model (LGCM), and Growth Mixture Model (GMM) conducted for data analysis by using SPSS and Mplus 7. Findings were as follows. 1) The psychological well-being scale for student teachers' professional teaching practice shown high validity and high reliability, which could be used in the study of psychological well-being of student teachers' professional teaching. 2) The two-class GMM was the best solution that fitted the data on psychological well-being of student teachers' professional teaching practice. 3) The patterns of psychological well-being growth were nonlinear. The mean initial status in class 1 and class 2 were 5.026 and 5.250, respectively. The growth rate were 0.414 and 0.232, respectively. The factor loadings of growth rates in measurement occasions 1 to 5 for class 1 were 0, -0.542, -0.068, 0.223, and 0.308, respectively, and those for class 2 were 0, 0.422, 0.430, 0.478, and 0.572, respectively. 4) The covariate factor effecting the latent class was personality trait of neuroticism. The substantial covariate factors effecting the initial status of psychological well-being for class 1 were personality trait of neuroticism, and teacher efficacy, whereas those for class 2 were avoidance as a coping strategy, personality trait of neuroticism, and teacher efficacy. The substantial covariate factors effecting growth rate of psychological well-being for class 1 were social support seeking as a coping strategy, social support from cooperating teachers and friends, whereas those for class 2 were avoidance as a coping strategy, personality trait of neuroticism, teacher efficacy, and social support from cooperating teachers. The covariates explained the variance of the initial status and growth rate of psychological well-being for class 1 were 39.7% and 48.0%, respectively and for class 2 were 60.6% and 39.5%, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1841-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุขภาวะen_US
dc.subjectครูฝึกสอน -- สุขภาพจิตen_US
dc.subjectWell-beingen_US
dc.subjectInterns (Education) -- Mental healthen_US
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุของพัฒนาการสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูen_US
dc.title.alternativeCausal factors of psychological well-being growth of student teachers during professional teaching practiceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.email.advisorKamonwan.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1841-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranya Chanchusakun.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.