Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ-
dc.contributor.advisorวสวัสดิ์ ชูเชิด-
dc.contributor.authorฉัตริน เลิศมาลัยมาลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-21T08:07:47Z-
dc.date.available2019-11-21T08:07:47Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63982-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractในการคำนวณรายได้ รายจ่ายและกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมสำหรับกิจการสำรวจและปิโตรเลียมนั้น พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมกำหนดให้คำนวณตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติทางบัญชีที่เหมาะสมซึ่งใช้อยู่เป็นปกติในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และ ให้หักรายจ่ายตามปกติและจำเป็นในจำนวนไม่เกินสมควรและได้จ่ายไปในกิจการปิโตรเลียม ไม่ว่าจะจ่ายในหรือนอกราชอาณาจักร โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องในการคำนวณกำไรสุทธิ คือ มาตรา 22 กล่าวถึงเรื่องรายได้ มาตรา 24 กล่าวถึงและยกตัวอย่างของรายจ่ายตามปกติและจำเป็น มาตรา 25 กล่าวถึงรายการที่มิให้ถือเป็นรายจ่ายตามปกติและจำเป็น และมาตรา 26 กล่าวถึง การคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มาตรา 24 (2) กำหนดว่า ค่าแรงงาน ค่าบริการ ค่าวัสดุสิ้นเปลือง และรายจ่ายทำนองเดียวกันอย่างอื่นที่ใช้ในการเจาะเพื่อสำรวจหรือเพื่อผลิต เป็นลักษณะของรายจ่ายตามปกติและจำเป็น สามารถนำไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีได้ ในขณะที่ มาตรา 26 (11) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้กล่าวถึงวิธีคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ทำให้กิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีแนวปฏิบัติสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเมื่อทำการผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมที่แตกต่างกัน โดยมี 2 แนวทางดังนี้ คือ แนวทางที่ 1. เมื่อผลิตปิโตรเลียมได้ จะถือรายจ่ายตามมาตรา 24 (2) เป็นรายจ่ายทันทีในรอบบัญชีนั้น (Treated as expenses) ในงบกำไรขาดทุน หรือ แนวทางที่ 2. เมื่อผลิตปิโตรเลียมได้ จะถือรายจ่ายตามมาตรา 24 (2) เป็นสินค้าคงเหลือในรอบบัญชีนั้น (Treated as inventory) ในงบแสดงฐานะทางการเงิน และถือเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนในรอบบัญชีที่ขายปิโตรเลียม การถือปฏิบัติต่อรายจ่ายดังกล่าวที่แตกต่างกันตาม 2 วิธีนั้น ส่งผลให้กำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของกิจการในรอบบัญชีที่ผลิตปิโตรเลียมไม่เท่ากัน จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว การถือปฏิบัติต่อรายจ่ายตามมาตรา 24 (2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ 2 คือ ถือเป็นต้นทุนสินค้าในรอบบัญชีที่ผลิต และรับรู้เป็นรายจ่ายในรอบบัญชีที่ขายปิโตรเลียม เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การคำนวณกำไรสุทธินั้น ต้องใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีให้เหมาะสม ซึ่งตามหลักการบัญชีนั้น รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปิโตรเลียมต้องถือเป็นสินค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะทางการเงิน และจะรับรู้รายจ่ายในงบกำไรขาดทุนได้เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือ วิธีนี้ทำให้รายจ่ายที่เกิดขึ้นสัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ ทำให้กำไรสุทธิในรอบบัญชีที่ผลิตและขายถูกต้อง เหมาะสม และแสดงประสิทธิผลในการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจการในรอบบัญชีนั้นได้ชัดเจน นอกจากนี้ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่กิจการคำนวณได้นั้น จะเป็นมูลค่าที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่รัฐและกิจการปิโตรเลียม เนื่องจากเป็นการคำนวณตามกำลังความสามารถในการเสียภาษีของกิจการในรอบบัญชีนั้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.31-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปิโตรเลียม -- ภาษีen_US
dc.subjectภาษีน้ำมันen_US
dc.subjectการขุดเจาะบ่อน้ำมันen_US
dc.titleการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ศึกษากรณีรายได้และรายจ่ายสำหรับการผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียม สำหรับกิจการปิโตรเลียมen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorpiti.e@chula.ac.th-
dc.subject.keywordภาษีเงินได้ปิโตรเลียมen_US
dc.subject.keywordอุตสาหกรรมปิโตรเลียมen_US
dc.subject.keywordระบบสัมปทานen_US
dc.subject.keywordการผลิตปิโตรลียมen_US
dc.subject.keywordทรัพยากรปิโตรเลียมen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.31-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086168734.pdf455.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.