Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64074
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำเรียง เมฆเกรียงไกร-
dc.contributor.authorวุฒิเดช ซึ่งมหากิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-16T08:36:07Z-
dc.date.available2019-12-16T08:36:07Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64074-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractกีฬากอล์ฟในประเทศไทยเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจสนามกอล์ฟซึ่งเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าของธุรกิจสูง มีการขยายตัวมากขึ้นเนื่องมาจากความนิยมในกีฬากอล์ฟ โดยมีความต้องการของผู้บริโภคทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ ประเทศไทยเป็นจุดหมายของนักกอล์ฟชาวต่างชาติที่จะเข้ามาใช้บริการสนามกอล์ฟเนื่องด้วยเหตุผลด้านความคุ้มค่าด้านราคาและการบริการที่น่าประทับใจ ซึ่งธุรกิจสนามกอล์ฟเป็นธุรกิจภาคบริการการท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินให้แก่ประเทศไทยได้จำนวนมาก ธุรกิจสนามกอล์ฟมีการให้บริการในรูปแบบการบริการในฐานะสมาชิกของสนามกอล์ฟ กล่าวคือ ผู้บริโภคที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกของสนามกอล์ฟต้องเข้าทำสัญญาเพื่อสมัครเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ (Country Club Membership) กับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟคือ สัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้บริโภคได้สิทธิในการใช้บริการในธุรกิจสนามกอล์ฟตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ประกอบธุรกิจได้ค่าตอบแทนจากการให้บริการนั้น โดยสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟในประเทศไทยที่ใช้แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะของสัญญาที่มีมูลค่าทางสัญญาสูงและมีการกำหนดระยะเวลาของสัญญาผูกพันผู้บริโภคยาวนานซึ่งเป็นการให้บริการลักษณะต่อเนื่อง ทั้งผู้ประกอบธุรกิจกำหนดข้อสัญญาเพียงฝ่ายเดียวซึ่งเข้าลักษณะสัญญาสำเร็จรูป และมีการกำหนดข้อสัญญาที่เอาเปรียบผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในหลายด้านอีกด้วย จากการศึกษา ผู้เขียนพบประเด็นปัญหาคือ ธุรกิจสนามกอล์ฟในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการโดยเฉพาะ ผู้บริโภคจึงถูกผู้ประกอบธุรกิจเอาเปรียบจากการทำสัญญา โดยผู้เขียนได้รวบรวมที่มาของปัญหาจากสัญญาให้บริการสนามกอล์ฟในประเทศไทยหลายๆ แห่งพร้อมทั้งเรื่องร้องเรียน ข่าว และสัมภาษณ์ผู้บริโภคโดยตรง ผู้เขียนจึงได้ศึกษากลไกของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญาเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาจากการเอาเปรียบของผู้ประกอบธุรกิจในการทำสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ โดยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2541 ซึ่งล้วนแต่เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญา ผู้เขียนยังได้ศึกษาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญาและข้อสัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐแคลิฟอร์เนีย) และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟในประเทศไทยอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอแนวทางข้อเสนอแนะโดยการออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจสนามกอล์ฟเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาเป็นการเฉพาะธุรกิจโดยให้รัฐกำหนดข้อสัญญาที่ต้องมีและห้ามมีในสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.14-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสนามกอล์ฟen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectสนามกอล์ฟ -- สมาชิกen_US
dc.titleปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการทำสัญญากรณีสัญญาให้บริการสมาชิกสนามกอล์ฟ : ศึกษาเฉพาะสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดาen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordสนามกอล์ฟen_US
dc.subject.keywordการคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.subject.keywordธุรกิจอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.subject.keywordูธุรกิจการท่องเที่ยวen_US
dc.subject.keywordกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.14-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086230934.pdf945.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.