Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64121
Title: การคำนวณโมเลกุลาร์ด็อกกิ้งหลายเป้าหมายของคูมาริน
Other Titles: Multi-target docking calculation of coumarins
Authors: จิรายุส อาจรักษา
Advisors: สมศักดิ์ เพียรวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Somsak.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คูมารินและอนุพันธ์มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย จึงมีความพยายามที่จะศึกษาหาส่วนของ โครงสร้างที่ทำงานออกฤทธิ์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหารูปแบบการเข้าจับระหว่างสารกลุ่มคูมารินและ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับอาการ 4 ชนิด คือ โรคมะเร็ง อาการซึมเศร้า การอักเสบ และการแข็งตัวของเลือด โดยใช้สารกลุ่มคูมารินสำหรับแต่ละเอนไซม์จำนวน 40, 22, 54 และ 13 สารตามลำดับ การศึกษาใช้เทคนิค การคำนวณการเข้าจับเชิงโมเลกุลด้วยโปรแกรม AutoDock Vina โครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ทั้ง 4 ชนิด ได้มาจากคลังข้อมูลโปรตีน (2QC6, 2AZ5, 5AFZ และ 2V61)ผลการคำนวณพบว่าหมู่แทนที่บนอนุพันธ์ ของคูมารินที่แตกต่างกันจะส่งผลให้รูปแบบการเข้าจับต่างกัน สารที่มีค่า pIC₅₀ สูงส่วนใหญ่จะมีหมู่แทนที่ เป็นธาตุกลุ่มฮาโลเจน วงอะโรมาติก หรือหมู่แทนที่ขนาดเล็ก ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบการเข้าจับไม่ต่างกัน ข้อมูลที่ได้นี้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าและพัฒนายารักษาโรคตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพและมี ความสามารถรักษาโรคได้หลากหลายในอนาคต
Other Abstract: Coumarin and its derivatives have various biological activities. Attempts have been made to find pharmacophore of these compounds. In this work, binding modes between coumarins and enzymes related to 4 symptoms, which are anticancer, antidepressant, anti-inflammatory and anticoagulant, were studied by using 40, 22, 54 and 13 coumarins for each symptom, respectively. Molecular docing calculation technique was employed using AutoDock Vina. Three dimensional structures of the 4 enzymes were retrieved from the Protein Data Bank (2QC6, 2AZ5, 5AFZ, and 2V61). Calculation results indicated that different substituents on coumarin derivatives affect their binding modes. Compounds with high pIC₅₀ values mostly contain halogen, aromatic ring or small substituent groups, in which their binding modes are quite similar. Obtained information may be helpful for design and development of a new effective drug with various biological functions in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64121
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirayood_A_Se_2561.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.