Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64215
Title: | การเลือกกาวทางการค้าสำหรับงานประติมากรรมทราย |
Other Titles: | Selection of commercial adhesives for sand sculpture |
Authors: | กรุณา นครชัย |
Advisors: | เข็มชัย เหมะจันทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ประติมากรรมทราย ทราย -- การทดสอบ กาว |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติความต้านทานแรงกดของทรายที่ยึดด้วยกาวแต่ละชนิด ได้แก่ เจลาติน โซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ กัมอะราบิก พอลิไวนิลอะซิเทต (สารเพิ่มเนื้อให้ผ้าในงานสิ่งทอ) พอลิอะคริลิกเอสเทอร์โคพอลิเมอร์ (ตัวยึดในสีทาบ้าน) อะคริลิกโคพอลิเมอร์ (สารเพิ่มความหนืดในงานสิ่งทอ) และไวนิลอะคริลิกโคพอลิเมอร์ (สารเพิ่มเนื้อให้ผ้าในงานสิ่งทอ) โดยเปรียบเทียบความแข็งแรงจากเส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความต้านทานแรงกดและเปอร์เซ็นต์ของเนื้อกาวแต่ละชนิดในทรายโดยน้ำหนักกับเส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของพอลิไวนิลอะซิเทตมาตรฐาน (กาวงานไม้) และเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงที่มากขึ้นเมื่อปริมาณของเนื้อกาวมากขึ้นจากค่าความชันเส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานแรงกดและเปอร์เซ็นต์ของเนื้อกาวแต่ละชนิดในทรายโดยน้ำหนักกับเส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์พิลิไวนิลอะซิเทตมาตรฐาน (กาวงานไม้) พบว่าความแข็งแรงของทรายที่ยึดด้วยกาวจะเพิ่มขึ้น เมื่อเปอร์เซ็นต์ของเนื้อกาวในทรายโดยน้ำหนักเพิ่มขึ้น ยกเว้นอัลจีเนท และพบว่า อัลจีเนทพอลิอะคริลิกเอสเทอร์โคพอลิเมอร์ (ตัวยึดในสีทาบ้าน) อะคริลิกโคพอลิเมอร์ (สารเพิ่มความหนืดในงานสิ่งทอ)ไวนิลอะคริลิกโคพอลิเมอร์(กาว) ครอสลิงค์อัลคีนิลอะคริลิกพอลิเมอร์ (สารเพิ่มความหนืดในงานสิ่งทอ) และไวนิลอะคริลิกโคพอลิเมอร์ (สารเพิ่มเนื้อให้ผ้าในงานสิ่งทอ) ให้ความแข็งแรงแก่ชิ้นงานน้อยกว่าพอลิไวนิลอะซิเทตมาตรฐาน (กาวงานไม้) สำหรับโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส พอลิไวนิลแอลกอฮอล์กัมอะราบิก เจลาติน และพอลิไวนิลอะซิเทต (สารเพิ่มเนื้อให้ผ้าในงานสิ่งทอ) ให้ความแข็งแรงแก่ชิ้นงานมากกว่าพอลิไวนิลอะซิเทตมาตรฐาน (กาวงานไม้) แต่ข้อจำกัดในการเลือกใช้โซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส แฃะพอลิไวนิลแอลกอฮอล์คือกาวทั้งสองชนิดนี้มีค่าความเข้มข้นสูงสุดของเนื้อกาวที่สามารถฉีดพ่นละอองกาวได้ดีต่ำ ต้องผสมกับน้ำทะเลในปริมาณที่มากทำให้ปรากฏการณ์คาปิลารีที่ยึดทรายหมดไป ไม่สามารถให้ความแข็งแรงแก่ผิวของปริมากรรมทรายได้ ซึ่งการเลือกใช้กาวในงานประติมากรรมทรายต้องพิจารณาจากความแข็งแรงและค่าความเข้มข้นสูงสุดของเนื้อกาวที่สามารถฉีดพ่นละอองกาวได้ดี ดังนั้นกัมอะราบิก เจลาติน และพอลิไวนิลอะซิเทต (สารเพิ่มเนื้อให้ผ้าในงานสิ่งทอ) จึงใช้ทดแทนกาวพิลิไวนิลอะซิเทตมาตรฐาน (กาวงานไม้) |
Other Abstract: | The selected adhesives in this study were gelatin, sodium carboxymethylcellulose, poly (vinyl alcohol), gum arabic, poly (vinyl acetate) for textile finishing, polyacrylic ester copolymer for binder in paint, acrylic copolymer for thickener, vinyl acrylic copolymer for adhesive, alginate, crosslink alkenyl acrylic copolymer for thickener and vinyl acrylic copolymer for textile finishing. The compressive strength properties of the adhesive bonded sand samples of these adhesives were studied compared with that of the adhesive bonded sands of standard poly (vinyl acetate). The comparison was done using their relationships between the compressive strength and % of each polymer in sand by weight and the slopes of their graphs. It was found that the compressive strength increased when the amount of polymer in sand by weight increased except for that of alginate. It was also found that alginate, polyacrylic ester copolymer for binder in paint, acrylic copolymer for thickener, vinyl acrylic copolymer for adhesive, crosslink alkenyl acrylic copolymer for thickener and vinyl acrylic copolymer for textile finishing gave compressive strength lower than standard poly (vinyl acetate). But gum Arabic, sodium carboxymethylcellulose, poly (vinyl alcohol), gelatin and poly (vinyl acetate) for textile finishing gave compressive strength comparable or higher than standard poly (vinyl acetate). The limitation for sodium carboxymethylcellulose and poly (vinyl alcohol) is that they both had low maximum concentration values for spraying; consequently, high amount of seawater in mixing was needed. This results in a decrease in capillary effect that holds sand particles together. Since, the adhesive selection was considerated from both compressive strength and maximum concentration values for spraying; therefore, gum Arabic, gelatin and poly(vinyl acetate) for textile finishing can be used as adhesives for sand sculpture. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64215 |
ISBN: | 9743464034 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Karuna_na_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 881.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Karuna_na_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 686.28 kB | Adobe PDF | View/Open |
Karuna_na_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Karuna_na_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 808.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Karuna_na_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Karuna_na_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 608.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Karuna_na_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.