Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64259
Title: การพัฒนาระบบการจับ CO₂ ในฝั่งดาวน์เนอร์ของหน่วยปฏิบัติการซีเอฟบี
Other Titles: Development a CO₂ capture system on downer side of CFB unit
Authors: วรัญญา ขันติอุดม
ธัญจิรา มณีวัฒนกุลผล
Advisors: พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pornpote.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ที่ได้จากกระบวนการเผาไหม้ เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาช่วยลดปัญหาดังกล่าว โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาต่อยอดจากระบบการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหน่วยปฏิบัติการฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน (Circulation Fluidized Bed) ในฝั่งไรเซอร์ (Riser) กล่าวคือ ฝั่งดาวเนอร์ (Downer) ของหน่วยปฏิบัติการฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน (Circulation Fluidized Bed) ได้ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นใหม่เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการฟื้นฟูตัวดูดซับที่ผ่านการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้จนเป็นโซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO₃) อีกทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและประสิทธิภาพในการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตัวดูดซับโซเดียมคาร์บอเนต (Na₂CO₃) ให้สามารถนำตัวดูดซับกลับไปใช้ใหม่ได้ การดำเนินงานวิจัยในระบบนี้ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) ชนิดสำเร็จรูปเป็นสารตั้งต้น และจากงานวิจัยอ้างอิง ได้เลือกศึกษาผลของความดันเริ่มต้นในระบบที่ -0.67, -0.40 และ -0.13 barg และผลของอุณหภูมิการฟื้นฟูตัวดูดซับที่ 100 °C, 110 °C และ 120 °C ในระบบการทดลองแบบกะ (Batch system) ซึ่งพบว่า ที่สภาวะความดันเริ่มต้นที่ต่ำกว่าบรรยากาศมาก (-0.67 barg) และอุณหภูมิสูง (120 °C) จะสามารถคายซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตัวดูดซับได้ 34.85% โดยน้ำหนัก ซึ่งมากกว่าที่สภาวะความดันเริ่มต้นที่ต่ำกว่าบรรยากาศน้อยกว่า (-0.13 barg) และอุณหภูมิต่ำกว่า (100 °C) ซึ่งสามารถคายซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตัวดูดซับได้เพียง 5.69% โดยน้ำหนัก
Other Abstract: Carbon dioxide from combustion process is one of main causes of Greenhouse effect. Now, there are several CO₂ capture technologies being developed to handle this problem. This research is a further study of CO₂ adsorption system on the Circulation Fluidized Bed unit (CFB) focusing on the downer. The downer side was designed, constructed and investigated operating factors that affected the behavior and performance of CO₂ desorption from spent adsorbent. In this research, NaHCO₃ will be used as the spent adsorbent. The operating factors are initial pressures and temperatures of regenerable system. By varying the initial pressures of -0.67, -0.40, and -0.13 barg and the temperatures of 100 °C, 110 °C and 120 °C in a batch system, CO₂ desorption from the spent sorbent were observed. This research found that at the low initial pressure (-0.67 barg) and high temperature (120 °C), 34.85% by weight of CO₂ can be desorbed from the adsorbent, while only 5.69% by weight of CO₂ is desorbed at high initial pressure (-0.13 barg) and low temperature (100 °C).
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64259
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waranya_K_Se_2561.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.