Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64261
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorกอบแก้ว ไทยืนยงศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-02-27T02:53:45Z-
dc.date.available2020-02-27T02:53:45Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743465537-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64261-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาของโฆษณาที่มีความรุนแรงในสื่อโทรทัศน์ และวิธีนำเสนอความหมายความรุนแรงในลักษณะต่างๆ รวมถึงคืกษาการบรรลุวัตถุประสงค์การขายสินค้าว่าภาพยนตร์โฆษณาที่มีเนื้อหารุนแรงขายของได้หรือไม่ และเจ้าของสินค้าพอใจหรือไม่อย่างไร โดยใช้วิธีการสืกษาแบบวิเคราะห์เนื้อหาจากภาพยนตร์รุนแรงที่คัดมาทั้งหมด 62 เรื่อง ผลจากการวิจัยพบว่า โฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารุนแรงแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักคือ 1.การแสดงออกทางพฤติกรรรม 2. แสดงการข่มฃู่คุกคาม และ 3. แสดงผลลัพธ์จากการทำร้าย โดยนำเสนอความหมายหลายลักษณะผ่าน ลักษณะผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ สาเหตุความรุนแรง อาวุธที่ใช้ ความชัดเจนของความรุนแรงความสมจริง การตอกยํ้าด้วยการรับโทษหรือรับรางวัล การแสดงผลลัพธ์ความรุนแรง และความตลกขบชัน โดยพบว่า 2 ใน 3 ของความรุนแรงทั้งหมดเป็นการกระทำแบบการแสดงออกทางพฤติกรรม ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำมักมีลักษณะตัวแทนกลุ่มเป้าหมายของสินค้า สาเหตุความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว รูปแบบอาวุธที่ใช้มากที่สุดคือ วิธีธรรมชาติและอาวุธไม่ปกติ จำนวนครั้งการกระทำรุนแรงมักเป็นครงเดียว การแสดงภาพกระทำรุนแรงส่วนใหญ่แสดงให้เห็นระยะใกล้ แต่มักไม่มีการแสดงให้เห็นเลือด ผู้กระทำรุนแรงมักไม่ได้รับการลงโทษในท้ายสุด ผลลัพธ์ความรุนแรงมักไม่แสดงให้เห็นอันตรายและการบาดเจ็บแต่กลับมีความน่าจะอันตรายในชีวิตจริงขั้นรุนแรง โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของเรื่องแต่งและมักนำเสนอด้วยความตลกขบชัน ส่วนการบรรลุวัตถุประสงค์การขายสินค้าพบว่า ภาพยนตร์โฆษณารุนแรงขายของได้จริง ซึ่งเจ้าของสินค้าส่วนใหญ่พอใจถ้าภาพยนตร์โฆษณาที่มีเนื้อหารุนแรงสามารถขายของได้ การสร้างภาพยนตร์โฆษณาที่กระทบใจคนดูท่ามกลางกลางเศรษฐกิจถดถอยเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้จำสินค้าได้เร็ว และความรุนแรงกลายเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอที่กระทบใจคนดูได้ โดยเจ้าของสินค้ามองว่าคนดูสามารถแยกแยะได้เองว่าเป็นความรุนแรงไม่จริง ดังนั้นภาพยนตร์โฆษณาที่มีความรุนแรงจึงมีแนวโน้มที่จะสร้างผลกระทบต่อคนดูในระยะยาว ทั้งในแง่พฤติกรรมการเรียนรู้และเลียนแบบ ความหวาดระแวงจนไม่ไว้ใจใคร และความชาชินต่อความรุนแรงขึ้นได้ในที่สุด-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the form and content of violence in TV advertising and the presentation ways of violence. Including with the effect on product selling as well as the satisfaction of the brand owner. The research methodology is by content analysis from the selected 62 items of television commercials of violence. The resulting commercial samples of the study can be classified into three main forms: 1. Behavioral act 2. Credible threat and 3. Harmful consequences which have been presented through various means such as : the nature of the perpetrator and target, reason for the violence, presence of weapons, extent and graphicness of the violence, degree of realism of the violence, whether the violence is rewarded or punished, consequences of violence and whether hum our is involved in violence. Results from the study show that 2 out of 3 violent advertisements encompass behavioral misconduct. Both the malefactor and the victim represent the target group of product. Of the main reasons for violent advertisement, it was found that individuals associate personal gain through violent behavior. The most frequent-displays of violence are presented in the form of malicious human behavior, use of natural means by only using body. Results show that the majority of advertisements only show 1 violent action. Where violent act are occured, the advertisement will often show the action within close range, but without the sign of biood. However, the more common that violent behavior is shown to be 1without showing the consequences of actions, the more acceptable the behavior will become to common individuals. Humorous tone significantly present in story, as well as the form of the fictitious. When it comes to successfully selling a product, or increasing the sale of a product, it's certain that brand owner have satisfied with that result. During the Asian Economic Crisis, when sales have been flat, this type of strong impact advertising has had the effect of capturing the attention of viewers and it will most likely increase the level of sales of that product. The result to societal behavior, however, cannot be taken for granted and the brand owner cannot simply assume that viewer, or consumer, can differentiate between TV violence and real-life violence. The long term effect on the viewer's psyche could lead to increase fearfulness by mistrust of other, learning and immitation and lead to emotional desensitization.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความรุนแรง-
dc.subjectภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์-
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหา-
dc.titleเนื้อหาความรุนแรงในภาพยนตร์โฆษณาที่ปรากฏในสื่อโทรทัศน์ระหว่าง พ.ศ.2541-2542-
dc.title.alternativeViolent content in television commercials during 1998-1999-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kobkaew_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ577.71 kBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_ch1_p.pdfบทที่ 11.38 MBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_ch2_p.pdfบทที่ 21.52 MBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_ch3_p.pdfบทที่ 3589.56 kBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_ch4_p.pdfบทที่ 49.38 MBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.65 MBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_ch6_p.pdfบทที่ 61.57 MBAdobe PDFView/Open
Kobkaew_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก994.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.