Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64408
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ต่อการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
Other Titles: Effect of group reality therapy on self-control of secondary school students
Authors: รับขวัญ ภูษาแก้ว
Advisors: วัชรี ทรัพย์มี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Watcharee@Chula.ac.th
Subjects: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
การควบคุมตนเอง
จิตบำบัดแบบเผชิญความจริง
Group counseling
Self-control
Reality therapy
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงต่อการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยมีสมมติฐานการวิจัยคือ หลังการทดลองนักเรียนที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มจะมีคะแนนการควบคุมตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม และสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (pretest- posttest control group design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 36 คน ซึ่งสุ่มจากนักเรียนที่ได้คะแนนจากแบบวัดการควบคุมตนเองที่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 และ ต่ำกว่า สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน แยกเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 9 คน กลุ่มควบคุม 18 คน กลุ่มทดลองได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงทั้งหมด 15 ครั้ง เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ติดต่อกันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั้วโมง 30 นาที โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดการควบคุมตนเอง (Self - control Schedule) ซึ่งแปลมาจากแบบวัดการควบคุมตนเองของไมเคิล โรเซนบัม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการควบคุมตนเองด้วยวิธีการทดสอบค่าที (t -test) ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองนักเรียนที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการควบคุมตนเองสูงกว่าก่อนเข้ากลุ่มและสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of Group Reality Therapy on increasing self-control of Secondary School Students. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample was 36 of Mathayom Suksa Three Students at Satit Chulalongkorn University Doministration School, Bangkok. They were randomly selected from the students who scored below at the 25 percentile on the Self-Control Schedule Scale. They were randomly assigned to the experimental group and the control group, each group comprising 18 students. The experimental group participated in Group Reality therapy, 2 sessions per week, for the total of 15 sessions of one and a half hours each. The researcher conducted the group by herself. The instrument used in this research was Self-Control Schedule by Michael Rosenbeum (1980). The t-test was ultilized for data analysis. The results indicated that the students participated in Group Reality Therapy Counseling showed greater increased significance at the .05 level in Self-Control Schedule score than those in the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64408
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.665
ISBN: 9740308426
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.665
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rabkwan_po_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ763.29 kBAdobe PDFView/Open
Rabkwan_po_ch1_p.pdfบทที่ 12.41 MBAdobe PDFView/Open
Rabkwan_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.05 MBAdobe PDFView/Open
Rabkwan_po_ch3_p.pdfบทที่ 3649.56 kBAdobe PDFView/Open
Rabkwan_po_ch4_p.pdfบทที่ 4977.13 kBAdobe PDFView/Open
Rabkwan_po_ch5_p.pdfบทที่ 5685.42 kBAdobe PDFView/Open
Rabkwan_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.