Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64486
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยในสาขาจิตวิทยาการศึกษา : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: Synthesis of research in the field of educational psychology : a meta-analysis
Authors: วรรณี อริยะสินสมบูรณ์
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
Somwung.P@chula.ac.th
Subjects: จิตวิทยาการศึกษา -- วิจัย
การวิเคราะห์อภิมาน
Educational psychology
Meta-analysis
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดสาระของศาสตร์ทางจิตวิทยาการศึกษา 2) เพื่อศึกษาสถานภาพของงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา 3) เพื่ออธิบายความแตกต่างของผลการวิจัยโดยใช้ตัวแปรปรับเกี่ยวกับคุณลักษณะของงานวิจัย และ 4) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของขนาดอิทธิพล งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยในสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาจำนวน 536 เล่มจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หมาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วย ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 1,173 ค่าและตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย รวม 39 ตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณการวิเคราะห์ HLM และ LISREL ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากรอบแนวคิดสาระของศาสตร์ทางจิตวิทยาการศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับรวม 5 องค์ประกอบ คือ ลักษณะผู้เรียน กระบวนการสอนและการเรียนรู้ บริบททางสังคม ผลการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียน และสารัตถะของสาขาวิชา 2. วิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาส่วนใหญ่ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ กระบวนการสอนและการเรียนรู้ กับ ผลการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียน และส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง และการศึกษาเปรียบเทียบ 3. ค่าขนาดอิทธิพลในระดับเล่มวิทยานิพนธ์จำนวน 411 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .966 ในระดับชุดการทดสอบสมมติฐานในงานวิจัยจำนวน 1,139 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .785 4. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่เป็นตัวแปรปรับที่ทำให้เกิดความแตกต่างของค่าประมาณขนาดอิทธิพลในระดับเล่มวิทยานิพนธ์ ได้แก่ ตัวแปรสถาบันที่ผลิตงานวิจัย ตัวแปรขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรทฤษฎีสำคัญ : ทฤษฎีพุทธิปัญญาและทฤษฎีทัศนคติ และตัวแปรการสรุปผลการวิจัย 5.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยมีประเด็นสำคัญหลายประเด็น โดยเฉลี่ยวิธีการสอน การปรับพฤติกรรม ความพึงพอใจและทัศนคติ มีขนาดอิทธิพลประมาณ 0.456-0.727 โดยเฉลี่ยวิธีการสอน การปรับพฤติกรรม ความพึงพอใจและทัศนคติ มีขนาดอิทธิพลประมาณ 0.456-0.727 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นอกจากนี้สภาพสิ่งแวดล้อมมีขนาดอิทธิพล 0.683 ต่ออัตมโนทัศน์ของนักเรียน ผลการเรียน ผลการทดสอบความตรงของโมเดลขนาดอิทธิพลพบว่า มีความกลมกลืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าไคสแควร์เท่ากับ 13.143 ค่าองศาอิสระเท่ากับ 11 และค่า p เท่ากับ 0.284
Other Abstract: Four purposes of this research were 1) to develop a conceptual framework in the field of educational psychology; 2) to study the status of educational psychological theses; 3) to explain the variances in theses results using the moderator variables pertaining to research characteristic factors; and 4) to validate the causal relationship model of effect sizes. The 536 research reports used for synthesis in this study were theses in the field of educational psychology from Chulalongkorn, Srinakharinwirot, Kasetsart, Chiang Mai, Khonkan and Songklanakharin Universities. Data for this research consiste of 1,173 values of effect sizes and 39 variables pertaining to research h characteristics. Descriptive statistics, analysis of variance, regression analysis, HLM and LISREL analysis were employed for data analysis The results of research synthesis were: 1. The developed conceptual framework in the field of educational psychology consisted of 5 interrelated factors; namely: learner’s characteristics, teaching and learning process, social context, academic achievement and learning behavior, and foundation of discipline. 2. Most of the theses in the field of educational psychology focused on the relationshipsbetween the teaching and learning process and the outcome of academic achievement and learning behavior. Most of them were experimental research and comparative studies. 3. The mean effect size measuring from 411 theses was .966 and the mean effect size measuring from 1,139 hypothesis tests was .785. 4. The moderator variables pertaining to research characteristics that accounted for differences in the effect size estimators were research institutes, sample size, type of principal theory; namely : cognition and attitude theories, and conclusion of research results. 5. The causal model resulting from the research synthesis indicated several important issues. In average, teaching method behavior modification, satisfaction and attitude had effects of approximately 0.456 – 0.727 on student achievement. In addition, environmental context had an effect of 0.638 on student’s self concept. The model validation of effect size indicated that the model was significantly fit with a chi-square of 13.143, df of 11 and p of 0.284
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64486
ISBN: 9741706189
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_ar_front_p.pdf903.69 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_ar_ch1_p.pdf830.21 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_ar_ch2_p.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ar_ch3_p.pdf778.53 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_ar_ch4_p.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ar_ch5_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ar_back_p.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.