Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64523
Title: ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีฆ่าตัวตาย : ศึกษากรณีนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors motivating the suicide of the ungraduate students : A case study of university students in Bangkok metropolis
Authors: วันชัย ขาวรัมย์
Advisors: จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: การฆ่าตัวตาย
นักศึกษา
วัยรุ่น
พฤติกรรมเบี่ยงเบน
Suicide
College students
Adolescence ; Teenagers
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง “ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีฆ่าตัวตาย : ศึกษากรณีนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยใช้ระเบียบวิจัยทางมานุษยวิทยาหลายรูปแบบเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เช่นการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการใช้เทคนิคของการจดบันทึก เป็นต้น โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษาที่ฆ่าตัวตาย 7 ราย โดยนำข้อมูลที่ไต้มาวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีฆ่าตัวตาย : ศึกษากรณีนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถสรุปได้ว่า นักศึกษาที่ฆ่าตัวตายมีอายุโดยเฉลี่ยขณะเสียชีวิตเฉลี่ย 21.5 ปี ส่วนใหญ่เรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน และเป็นนักศึกษา ที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดมากที่ชุด ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเรียน และเรียนทางด้านสังคมศาสตร์มากกว่าด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจด้านครอบครัวพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาต้านครอบครัว ต้านสุขภาพพบว่านักศึกษาที่ฆ่าตัว ตายไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ ด้านโรคซึมเศร้าพบว่านักศึกษาที่ฆ่าตัวตายมีปัญหาโรคซึมเศร้า ด้านความรักพบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาด้านความรัก ด้านการเลียนแบบพบว่ามีการเลียนแบบวิธีการฆ่าตัวตายโดยกระโดดจากที่สูงรองลงมาเป็นผูกคอตาย และยังพบว่าข้อมูลด้านสื่อมีผลต่อการฆ่าตัวตาย ของนิสิตนักศึกษา ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้นิสิต นักศึกษาฆ่าตัวตาย พบว่า ปัจจัยด้านการเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านความรัก ปัจจัยด้านโรคซึมเศร้า ปัจจัยด้านการเลียนแบบและปัจจัยด้านสื่อล้วนเป็นแรงผลักดันให้นิสิต นักศึกษาฆ่าตัวตาย ส่วนปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านสุขภาพไม่ใช่แรงผลักดันให้นิสิต นักศึกษาฆ่าตัวตาย มีหลายรายที่การฆ่าตัวตายเกิดจากแรงผลักดันหลายอย่างประกอบกัน จนกระทั้งหาทางออกไม่ได้ เมื่อถึงทางตันก็ตัดสินใจหาทางออกโดยการฆ่าตัวตาย
Other Abstract: The objectives of the study are to know the factors motivating the suicide of the ungraduate student: a case study of university student in Bangkok metropolis. This research is a qualitative research. Anthropological fieldwork techniques such as in-depth interview, participant observation etc., were used to collect data from 10 different cases and used content analysts to analyze and describe cases study. The results of the study would summarize that their average age was 21.5 years old and most of them studied at privat university in the field of social science. Overall non of the sample has the financial and health problems. They stayed alone and hopeless. Some sample had re-actioned suicide. The way of committing suicide were jumped and hanged to dead respectively. Factors motivating the suicide of the ungraduate students were found that the six problems which combined to commit suicide were studying, depression, love, mass media and copycat. While financial and health problems were not the factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64523
ISBN: 9740304869
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_kh_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ788.59 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_kh_ch1_p.pdfบทที่ 11.58 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_kh_ch2_p.pdfบทที่ 21.26 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_kh_ch3_p.pdfบทที่ 31.21 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_kh_ch4_p.pdfบทที่ 4756.55 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_kh_ch5_p.pdfบทที่ 5735.23 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_kh_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก805.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.