Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.authorนันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-30T17:33:36Z-
dc.date.available2020-03-30T17:33:36Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741702981-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64569-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบโครงสร้าง และพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือรวบรวมเก็บข้อมูลในการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงานของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 รวมทั้งศึกษา คุณภาพของเทคนิคและเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการตรวจลอบในเรื่องความครอบคลุมและเหมาะสมความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล และความเป็นประโยชน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 417 คน และครูผู้สอนกิจกรรมโครงงานในโรงเรียน 11 แห่ง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉัน 2) แบบสอบถามครูเกี่ยวกับการใช้สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉันในการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบโครงสร้างการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงานประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ความต้องการ 2) กำหนดจุดมุ่งหมาย 3) ออกแบบแผนการเรียนรู้ 4) ปฏิบัติการเรียนรู้ 5) ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง 6) ปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ 7) ชื่นชมในผลงาน 2. เทคนิคและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงานที่พัฒนาขึ้น คือ แบบบันทึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวัดการเรียนรู้ด้วย การนำตนเองในกิจกรรมโครงงาน คือ ''สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉัน" 3. เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาสาระครอบคลุมตามกรอบโครงสร้างการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงาน และมีความเหมาะสมในการใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 4. ครูและนักเรียนมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนำ “สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉัน" ไปใช้ไนการเก็บรวบรวมข้อมูลการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงาน 5. ครูมีความเห็นว่าข้อมูลจากการบันทึกการเรียนรู้ใน “สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉัน" ของนักเรียน ช่วยให้ครูได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในกิจกรรมโครงงาน และนักเรียนมีความเห็นว่า การบันทึกการเรียนรู้ใน “สมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉัน” ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 6. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อสมุดบันทึกการเรียนรู้ของฉันในระดับมาก-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study a conceptual framework and develop a data collection technique and an instrument for assessing self-directed learning in project activities for elementary school students grade 5-6. The quality of the technique and the instrument covered coverage, feasibility and suitability of the data collection technique for assisting a teacher in assessment of students' self-directed learning. The subjects were 417 grade 5-6 students from 11 schools. The research instruments were 1) “My learning log” 2) a teacher questionnaire and 3) a student questionnaire The results of the study were as follow 1) The conceptual framework for assessing a self-directed learning in project activities covered of 7 steps i.e. diagnose needs, define objectives, design a learning plan, conduct the learning, evaluation by oneself, improvement and appreciation the outcome. 2) The developed data collection technique was the journal writing and the instrument for assessing self-directed learning in project activities was “My learning log" 3) The developed instrument covered conceptual frameworks for assessing self-directed learning in project activities and was suitable for grade 5-6 student. 4) The teachers and the students accepted that the instrument was feasible and suitable for assessing self-directed learning in project activities. 5) The teachers accepted that the developed instrument “My learning log" was useful in assisting them to collect data for assessing self-directed learning in project activities. 6) The teachers and the students appreciated the use of “My learning log” in assessing self-directed learning in project activities.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง-
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน-
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษา-
dc.subjectการสอนแบบโครงงาน-
dc.subjectSelf-managed learning-
dc.subjectActivity programs in education-
dc.subjectEducational tests and measurements-
dc.titleการพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ในกิจกรรมโครงงานของนักเรียนระดับประถมศึกษา-
dc.title.alternativeDevelopment of data collection techniques and instrument for assessing self-directed learning in project activities of elementary schools students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntakarn_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ802.06 kBAdobe PDFView/Open
Nuntakarn_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1847.83 kBAdobe PDFView/Open
Nuntakarn_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.61 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakarn_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.33 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakarn_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.1 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakarn_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5820.99 kBAdobe PDFView/Open
Nuntakarn_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.