Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64774
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร-
dc.contributor.authorเบญจรัตน์ ใจบาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:08:44Z-
dc.date.available2020-04-05T07:08:44Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64774-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา จำนวน 16 แผน แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา มีทักษะการทำงานกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ทักษะ โดยทักษะที่พัฒนามากที่สุด คือ ทักษะการวางแผน รองลงมา คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were 1) to compare teamwork skills of the students before and after implementing the constructive controversy along with the case studies and 2) to study the students’ behaviors of those who participated in constructive controversy along with the case study learning activities. The participants of this study were 30 students of Prathom 4/1 who were studying at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Elementary) during 2019 academic year. The research instruments included 16 constructive controversy and case studies lesson plans, teamwork skills assessment form, and teamwork skills behavior recording form. The data were analyzed by using mean score, standard deviation and t-test. The results showed that 1) the students’ teamwork skills had increased after participating in the constructive controversy along with the case study learning activities at a significant level of .05 and 2) the students’ behaviors in 5 skills also improved. The most improved skill was Planning. Following by communication, interaction, problem-solving and conflict resolution skills.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.963-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-
dc.title.alternativeEffects of organizing learning by using constructive controversy approach and case studies on teamwork skills of fourth grade students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineประถมศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChattrawan.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.963-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083824127.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.