Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6480
Title: วาทกรรมการพัฒนา : การสร้างกระเช้าไฟฟ้าในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Discourse on development : cable car construction project for tourist attraction in Chiangmai
Authors: ญาณิศา คำภีระ
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวาทกรรมการพัฒนาและปฏิบัติการทางวาทกรรม ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาและประชาชนในเขตพื้นที่การพัฒนาที่มีต่อโครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาดูว่าทั้งสองฝ่ายได้ให้นิยามความหมายต่อวาทกรรมการพัฒนากระแสหลักอย่างไร ประชาชนในเขตพื้นที่การพัฒนาและบริเวณใกล้เคียงมีกระบวนการสร้างเอกลักษณ์และมีปฏิบัติการวาทกรรมทางเลือกของตนเพื่อประทะกับวาทกรรมการพัฒนากระแสหลักอย่างไร เพราะเหตุใด และประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมีทัศนคติความคิดเห็นอย่างไรต่อโครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า การให้นิยามความหมายการพัฒนาการสร้างกระเช้าไฟฟ้าในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ได้กลายเป็นภาพของความขัดแย้ง และเป็นกระบวนการต่อรองในการพัฒนาระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนา และประชาชนในชุมชนท้องถิ่น รัฐได้พยายามสร้างความหมายที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น และการเพิ่มพูนรายได้อย่างมหาศาลจากการบริการนักท่องเที่ยว โดยผูกโยงเข้ากับอุดมการณ์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็น "นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง" (City of Life and Prosperity) เชียงใหม่ถูกวางให้เป็นเมืองที่เป็นประตู่สู่เมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน จากรากฐานทางความคิดและความเชื่อนี้ได้ถูกถ่ายทอดสู่การปฏิบัติการทางสังคมในฐานะที่เป็นวาทกรรมกระแสหลัก โดยอาศัยกลไกและอำนาจของรัฐที่มุ่งผูกขาดอำนาจในการกำหนดหรือสร้างความหมายให้กับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แต่อำนาจแห่งการพัฒนาดังกล่าวกลับไม่สามารถที่จะครอบงำ ปิดกั้น หรือกดความรู้ว่าด้วยการพัฒนาในแบบฉบับของชุมชนท้องถิ่นได้ทั้งหมด การพัฒนาจากรัฐได้ถูกท้าทายด้วยการปฏิบัติการของชุมชนท้องถิ่นในหลายรูปแบบ ซึ่งได้สร้างวาทกรรมทวนกระแสเพื่อตอบโต้ ต้านทาน คัดค้านการพัฒนา โดยให้ความหมายการพัฒนาว่าเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับระบบความเชื่อ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็นำเสนอภาพความโปร่งใส ความมีเงื่อนงำของโครงการ และการขาดกระบวนการของการมีส่วนร่วมของชุมชน และยังได้นำเสนอภาพ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" และ "การพัฒนาที่เน้นมิติทางวัฒนธรรม" ดังนั้น ภาพการพัฒนาที่ถูกนำเสนอจึงเป็นการให้ความสำคัญกับความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ ความมีคุณค่าต่อชีวิตและจิตใจของชาวบ้าน เป็นการเน้นระบบคุณค่ามากกว่าระบบมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่สร้างเงินรายได้อย่างมหาศาล แต่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและทำลายระบบวัฒนธรรมความเชื่อที่ดีงามชองชุมชน และไม่ต้องการให้ความเจริญทางการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น กระเช้าไฟฟ้า เข้ามาเบียดขับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น ที่จะทำให้ภาพแห่งเมืองที่มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม กลายเป็นเมืองที่มีแต่ความทันสมัยหรือเมืองแห่งสังคมบริโภคนิยมและต้องลดทอนชีวิต วัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าที่ขายได้ด้วยการจัดให้เป็นชุดการแสดงต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม การปฏิบัติการของชุมชนท้องถิ่นดำเนินไปโดยใช้กลยุทธ์ในการรณรงค์เคลื่อนไหวด้านอุดมการณ์ ผสมผสานกับการสื่อสารโน้มน้าวใจโดยอาศัยความน่าเชื่อถือของแหล่งสารและกลยุทธ์การสร้างสารเพื่อโน้มน้าวใจหลากหลายรูปแบบ แสดงถึงพลังอำนาจที่ถูกสร้างผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความเป็นชุมชน ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลากว่า 700 ปี เมื่อความเชื่อเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อปลุกระดมพลังแห่งชุมชน จึงกลายเป็นวาทกรรมทวนกระแสที่มีพลังอำนาจในการต้านทานวาทกรรมการพัฒนากระแสหลักได้ จะเห็นได้ว่าแม้วาทกรรมการพัฒนาจากรัฐจะดีเพียงใด แต่หากการพัฒนานั้นไม่เหมาะสมต่อความเป็นชุมชนท้องถิ่น หรือขาดการเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาด้วยตนเองส่วนหนึ่ง การพัฒนานั้นก็ไม่อาจมีอำนาจเหนือพื้นที่การพัฒนานั้น ๆ ได้
Other Abstract: The objective of this research is to study discourse on development and discursive practice of government officers who respond to the project and people who lived in the area studied that would be affected by the cable car construction project for tourist attraction in Chiang Mai. This research examines. 1) How the government of officers and people gave the definition of "development" in dominant discourse 2) How people in development area and vicinity constructed their identity and signification took place 3) How and why crashing and counterattacking between alternative discursive practice and dominant discourse 4) What were the opinions of people in development area of the cable car construction project for developing sightseeing places in Chiang Mai. The results are as follows: Giving the definition of "development" on cable car construction in Chiang Mai become the conflict and meaning negotiation process between government officers who were responsible for the project and people in this community. Although the governments tried to illustrate the progress of tourism economics, the benefits in community and the increase of income from tourists by linking those concepts with the developing ideal of Chiang Mai to be "City of Life and Prosperity". Chiang Mai was set as the role model for other cities in the same region. The base of this thinking and belief were passed on to the discursive practices in the same status with dominant discourse. But the power of development could not dominates, block or press the knowledge of community development. The government development plans were challenged by several local communities' actions. These actions made the counter discourse against the development because they provided the definition of development which contrasted with the belief, way of life and the environment of local community. At the same time these actions shows the untransparency of project and lack of community participation and the ideal of "Permanently development" and no emphasis on the cultural dimension. So the ideal of development preferred to present belief, holy values of life and mind. There was emphasis on value system than economic values which could make a lot of benefit but destroyed natural resources and culture of community. People in community were against the progress of technology such as cable car because they were afraid of change in their community especially culture, customs and history which could become commercialized such as a great show for tourists. The community's actions contained the efficiency campaigns and source credibility to persuade. These showed the power of history, belief, customs and culture of Chiang Mai since 700 years ago until nowadays as counter discourse on development.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6480
ISBN: 9741418329
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yanisa.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.