Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64841
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุลนี เทียนไทย-
dc.contributor.authorศาสนพงษ์ วรภาพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:33:42Z-
dc.date.available2020-04-05T07:33:42Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64841-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงศึกษาบทบาทหน้าที่ ขั้นตอนดำเนินการของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนการดังกล่าว ตลอดจนศึกษามาตรการในการเยียวยาชดใช้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด โดยวิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร เทคนิคการสังเกตการณ์ และเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง รวมทั้งหมด 20 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทยมีจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมีทั้งรูปแบบสามีทำร้ายภรรยา รูปแบบบิดามารดาหรือผู้ปกครองทำร้ายบุตรหลาน และรูปแบบบุตรหลานทำร้ายผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อตัวผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวและสังคมประเทศชาติโดยรวม โดยมีสาเหตุมาจากรากเหง้ามายาคติชายเป็นใหญ่และสะท้อนออกมาสู่รูปแบบการทำร้ายบุคคลภายในครอบครัวที่มีอำนาจด้อยกว่า รวมถึงความกดดันทางสภาพเศรษฐกิจสังคมที่ยากจน และปัญหาการดื่มสุราหรือการเสพสารเสพติดเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทย 2) พนักงานสอบสวนยึดบทบาทเป็นคนกลางเป็นหลักในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในการดำเนินการไกล่เกลี่ยปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว โดยทำหน้าที่ประสานงานนัดหมายผู้เข้าร่วมกระบวนการ เป็นผู้ดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายกล่าวถึงปัญหาของตนเอง และเป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหารวมทั้งมาตรการในการเยียวยาชดใช้แก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวอย่างเหมาะสมและยุติธรรม 3) ปัญหาหลักที่พบจากงานวิจัยนี้ คือ พนักงานสอบสวนยังขาดความรู้ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิดตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนกระบวนการที่เป็นสาเหตุให้ผลลัพธ์ของการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ 4) การเยียวยาชดใช้ด้วยเงินให้แก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นมาตรการเยียวยาชดใช้ที่เหมาะสมที่สุด แต่ควรมีการเยียวยาด้านสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวด้วย โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิดของพนักงานสอบสวน สำหรับการจัดการแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยจากประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  -
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to conduct research on the situation of domestic violence in Bangkok Metropolis, and to study inquiry official’s role, the process and problems in victim-offender mediation of domestic violence. This research will acknowledge the reparation measures to victims of domestic violence, which arising from the mediation. This qualitative research utilized research methods through the use of documentary research, observation, and in-depth interviews from key informants. The sample of participants was determined using the purposive sampling method. In total, there were 20 informants. The key findings of this study showed that: 1) problems of domestic violence in Thailand has been increased annually and inclined to continuously grow every year, including marital violence, violence against children by their guardians, and elderly abuse committed by their children, which lead to social problems both short-term and long-term. Domestic violence occurs as a result from the pressure of poverty, from alcohol and substance use, and from the norms maintained by patriarchal society which reflects male commits bodily harm to family members 2) an inquiry officials has an important role as a conciliator to coordinate, schedule both parties, and give each party an opportunity to speak out their personal issues in victim-offender mediation of domestic violence, including providing an appropriate and fair resolution with reparation measures to victims 3) major problem was found in this research in the following order. Inquiry officials still lack of well-understanding in process of victim-offender mediation which leads to failures in mediation 4) the reparation measures together with psychological healing are considered to be appropriate measures to victims. Suggestions on victim-offender mediation for inquiry officials were also given in this research, as well as effective management for the context of Thai society according to the experience of participants.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1468-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleบทบาทของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีความรุนแรงในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeInquiry official’s role in victim-offender mediation Of domestic violence in Bangkok metropolitan-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChulanee.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1468-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6081006824.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.