Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64945
Title: | การเตรียมอิมัลชันน้ำมันถั่วเหลืองจากสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของ Pichia anomala MUE24 |
Other Titles: | Preparation of soybean oil emulsions from biosurfactant of pichia anomala mue24 |
Authors: | ธัญญรัตน์ เทียนชัยเกิดศิลป์ |
Advisors: | จิราภรณ์ ธนียวัน โศรดา กนกพานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jiraporn.Th@Chula.ac.th Sorada.K@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Pichia anomala MUE24 ในถังหมักขนาด 5 ลิตรแบบแบตช์ ด้วยอาหารเหลวปรับปรุงสูตรที่ประกอบด้วย KH2PO4 0.02% MgSO4.7H2O 0.02% สารสกัดยีสต์ 0.64% NaNO3 0.11% กลูโคส 6.66% (น้ำหนัก/น้ำหนัก) และน้ำมันถั่วเหลือง 13.34% (ปริมาตร/ปริมาตร) pH 4.5 ควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส ควบคุมอัตราเร็วรอบกวนในถังเป็น 400 รอบต่อนาที และควบคุมอัตราการให้อากาศ 1 vvm เป็นเวลา 120 ชั่วโมง พบว่า ที่เวลา 72 ชั่วโมง เมื่อสกัดแบบพร้อมเซลล์จะได้ผลผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ 21.61 กรัมต่อลิตร และสามารถลดค่าแรงตึงผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อจาก 41.25 มิลลินิวตันต่อเมตร เป็น 28.75 มิลลินิวตันต่อเมตร เมื่อนำสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบ Analytical Thin-Layer Chromatography พบว่า มีส่วนประกอบ 3 ลำดับส่วน มีอัตราการเคลื่อนที่ (Rf) 0.96, 0.91 และ 0.87 (F1A-F3A) ตามลำดับ ซึ่งให้ผลใกล้เคียงกับสารโซโฟโรลิพิดมาตรฐาน และเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบ Preparative Thin-Layer Chromatography พบว่า มีส่วนประกอบ 3 ลำดับส่วน มีอัตราการเคลื่อนที่ (Rf) 0.90, 0.77 และ 0.74 (FI-FIII) ตามลำดับ จากนั้นนำสารจากตำแหน่ง FII ที่มีค่าการกระจายน้ำมันสูงที่สุดไปทำให้บริสุทธิ์ด้วย HPLC พบว่า สารที่ RT เท่ากับ 26.56 มีค่าการกระจายน้ำมันสูงที่สุด ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับสารโซโฟโรลิพิดทั้งในรูปแบบแล็กโทน (lactonic form) และรูปแบบแอซิด (acidic form) ค่า CMC ของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมีค่าเท่ากับ 113 มิลลิกรัมต่อลิตร สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ที่ความเข้มข้น 75, 150 และ 300 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารลดแรงตึงผิวทางเคมีเมื่อทดสอบกับเซลล์ 3T3 mouse fibroblast ด้วยเทคนิค MTT assay และทำการศึกษาเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเตรียมอิมัลชันน้ำมันถั่วเหลืองจากสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้โดยการสร้างแผนภาพวัฏภาคสามองค์ประกอบ พบว่า สามารถเตรียมอิมัลชันในอัตราส่วนของน้ำมันถั่วเหลือง 5%, สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ 36%, span80 9% และน้ำ 50% ที่มีขนาดอนุภาค 765 นาโนเมตร ซึ่งมีความเสถียรที่อุณหภูมิ 4, 25 และ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 เดือน |
Other Abstract: | The biosurfactant production from Pichia anomala MUE24 in a 5-L batch bioreactor was studied in modified medium containing 0.02% of KH2PO4, 0.02% of MgSO4.7H2O, 0.64% of yeast extract, 0.11% of NaNO3, 6.66% of glucose (w/w) and 13.34% of soybean oil (v/v). Cultivation was performed at pH 4.5 30°C with 400 rpm and 1 vvm for 120 h. After 72 h of cultivation, crude biosurfactant was found at 21.61 g/l from whole cell extraction. The biosurfactant was able to reduce surface tension of the medium from 41.25 mN/m to 28.75 mN/m. Analysis of the biosurfactant via analytical thin-layer chromatography showed 3 major bands similar to standard sophorolipid with Rf of 0.96, 0.91 and 0.87 (F1A-F3A), respectively. Furthermore, analysis of the biosurfactant via preparative thin-layer chromatography showed 3 major bands with Rf of 0.90, 0.77 and 0.74 (FI-FIII), respectively. In addition, FII was purified via high performance liquid chromatography (HPLC). The solution of a peak of HPLC analysis at retention time (RT) of 26.56 revealed the highest oil displacement activity. The result showed that the FII biosurfactant corresponded to sophorolipid in lactonic form and acidic form. The critical micelle concentration (CMC) of crude biosurfactant was 113 mg/l. This biosurfactant at concentration 75, 150 and 300 mg/l was less cytotoxicity with 3T3 mouse fibroblast when compared with chemical surfactant using MTT assay. The preparation of soybean oil emulsions from biosurfactant using ternary phase diagram showed that it could form stable emulsion by the ratio 5% of soybean oil, 36% of biosurfactant, 9% of span80 and 50% of water with particle size 765 nm at 4, 25 and 40°C for 2 months. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64945 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.321 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.321 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5672234323.pdf | 3.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.