Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมทย์ เดชะอำไพ-
dc.contributor.advisorก่อเกียรติ บุญชูกุศล-
dc.contributor.authorธนวัช ศรีเจริญชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T08:46:16Z-
dc.date.available2020-04-05T08:46:16Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740310486-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65017-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ทำการศึกษาการวิเคราะห์ปัญหารอยร้าวในสองมิติภายใต้สภาวะความเครียดระนาบด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ตัวประกอบความเข้มของความเค้นรวมทั้งประยุกต์โปรแกรมดังกล่าวเพื่อทำนายอายุความล้าและแนวทางเดินของรอยร้าว ในการวิเคราะห์ปัญหารอยร้าวนี้จะประยุกต์เอลิเมนต์สามเหลี่ยมแบบหกจุดต่อที่ได้เลื่อนจุดต่อกลางด้านที่ติดกับปลายรอยร้าวเข้ามา ณ ตำแหน่งหนึ่งในสี่ของความยาวด้าน และค่าตัวประกอบความเข้มของความเค้นสามารถหาได้ด้วยวิธีการประมาณค่านอกช่วงของระยะการเคลื่อนตัวที่บริเวณปลายรอยร้าว นอกจากนี้ยังไต้ประยุกต์เทคนิคการปรับของเอลิเมนต์ โดยอัตโนมัติในการคำนวณเพื่อเพิ่มความแม่นยำของผลเฉลยที่ได้ ในงานวิจัยนี้ไต้ทดสอบหาอัตราการเติบโตของรอยร้าวภายใต้ความล้าของชิ้นทดสอบมาตรฐานแบบ CT และแบบคานดัดสามจุดกด ซึ่งทำจากวัสดุ ASME SA-335 Gr P22 และวัสดุ AL 6063-T6 ณ สภาวะอากาศที่อุณหภูมิห้อง โดยมีอัตราส่วนภาระในการทดสอบเท่ากัน จากผลการทดสอบพบว่าการเติบโตของรอยร้าวไม่ขึ้นอยู่กับรูปร่างของชิ้นทดสอบเมื่ออยู่ภายใต้ภาระรูปแบบที่ 1 เช่นเดียวกัน การตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ประดิษฐ์ชิ้นสามารถทำได้โดยเปรียบเทียบผลการคำนวณค่าตัวประกอบความเข้มของความเค้นกับผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยวิธีอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัญหาเดียวกัน ซึ่งพบว่าผลที่ได้มีความสอดคล้องกัน จากนั้นจึงวิเคราะห์ปัญหาการทำนายอายุความล้าในชิ้นทดสอบมาตรฐานแบบ CT และแบบคานดัดสามจุดกด โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นร่วมกับอัตราการเติบโตของรอยร้าวที่ได้จากการทดสอบ ซึ่งพบว่าผลการคำนวณอายุความล้าในชิ้นทดสอบดังกล่าวมีความสอดคล้องกับผลการทดสอบ นอกจากนี้ยังสามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์เพื่อใช้ในการทำนายแนวทางเดินของรอยร้าวโดยผลลัพธ์ที่ได้มีความสอดคล้องกับผลเฉลยในเอกสารอ้างอิง-
dc.description.abstractalternativeA finite element method for two-dimensional crack problems under plane strain condition is presented. A corresponding finite element computer program was developed to compute the stress intensity factor, the crack growth path including the fatigue life. For crack problems, stresses at crack tip in elastic bodies are determined by using the six-node isoparametric triangular elements with quarter point mid-side nodes around the crack tip. The stress intensity factor is determined by the displacement extrapolation technique. เท order to obtain higher solution accuracy, adaptive remeshing technique was applied to place small elements เท the region of high solution gradient, and at same time, to generate large elements in the other regions. From the fatigue crack growth experiment on CT and three-point bending specimen for both ASME SA-335 Gr P22 and AL 6063-T6 under surrounding room environment at the same load ratio shows that the crack growth behavior are independent of specimen geometry for mode I loading. The finite element computer program was verified using examples that have analytical solutions by other methods before applying to solve more complex problems. The results from several tested problems demonstrate the capability of finite element method for solving crack problems effectively.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไฟไนต์เอลิเมนต์ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์-
dc.subjectความเครียดและความเค้น-
dc.subjectวัสดุ -- ความล้า-
dc.subjectFinite element method -- Computer programs-
dc.subjectStrains and stresses-
dc.subjectMaterials -- Fatigue-
dc.titleการศึกษาการทำนายอายุของชิ้นงานที่มีรอยร้าวภายใต้สภาวะความเครียดระนาบโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์en_US
dc.title.alternativeStudy of life prediction for cracked bodies under plane strain condition by the finite element methoden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPramote.D@Chula.ac.th-
dc.email.advisorKaukeart.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanawat_sr_front_p.pdf996.21 kBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch1_p.pdf830.06 kBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch2_p.pdf928.62 kBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch3_p.pdf869.58 kBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch4_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch5_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch6_p.pdf745.11 kBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch7_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch8_p.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch9_p.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_ch10_p.pdf668.38 kBAdobe PDFView/Open
Thanawat_sr_back_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.