Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65152
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชัยศักดิ์ หรยางกูร-
dc.contributor.advisorวิชัย อริยะนันทกะ-
dc.contributor.authorสุจินต์ เจนพาณิชพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T17:04:59Z-
dc.date.available2020-04-05T17:04:59Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741729944-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65152-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงความสมบูรณ์และขอบเขตการยอมรับบังคับใช้ข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศ โดยศึกษาอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยความตกลงเลือกศาล ค.ศ.1965 อนุสัญญากรุงบรัสเซลล์ ว่าด้วยเขตอำนาจศาลและการบังคับตามคำพิพากษาในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ.1968 อนุสัญญา ลูกาโน่ว่าด้วยเขตอำนาจศาลและการบังคับตามคำพิพากษา ค.ศ.1988 หลักกฎหมายขัดกันหรือหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของประเทศต่าง ๆ และหลักกฎหมายไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน การทำข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศอาศัยพื้นฐานความยินยอมของคู่กรณีในการร่างข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทไว้ล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงจากผลความไม่แน่นอนของคำพิพากษาจากศาลแต่ละประเทศและเพื่อลดปัญหาการดำเนินคดีซ้ำซ้อนกันในศาลของหลายประเทศ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทยให้สิทธิฝ่ายโจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้เลือกเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่หรือศาลที่มูลคดีเกิดโดยที่ไม่มีบทบัญญัติใดให้สิทธิคู่กรณีทำข้อตกลงเลือกศาลไว้ล่วงหน้า การทำข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเขตอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยทางเศรษฐกิจของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะไม่สามารถใช้กล่าวอ้างในศาลได้ แม้ว่าประเทศต่าง ๆ รวมตลอดถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ จะยอมรับให้คู่สัญญาสามารถทำข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศได้ แต่การยอมรับบังคับใช้ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันในรายละเอียดจนไม่อาจถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ผู้เขียนเห็นว่า บทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเขตอำนาจศาลของไทยยังไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศและหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล อาจส่งผลกระทบถึงการนำคำพิพากษาของศาลไทยไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับและบังคับ จึงควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้มีบทบัญญัติยอมรับให้ทำข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศได้ โดยให้ศาลไทยมีอำนาจเข้าตรวจสอบความไม่เป็นธรรมของการทำข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และให้โอกาสจำเลยโต้แย้งคัดค้านความไม่เหมาะสมของศาลที่ได้รับเลือกตามข้อตกลงเลือกศาลตามหลัก forum non conveniens และหลีกเลี่ยงการยอมรับบังคับใช้ข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการดำเนินคดีซ้ำซ้อนกันในศาลของหลายประเทศตามหลัก lis alibi penden-
dc.description.abstractalternativeThis thesis intends to study the validity and extent of enforcement of choice of forum in international commercial litigation. Attention is paid to the Convention on the Choice of Court, done at Hague, 1965, Convention on Jurisdiction and the Enforcement of Judgments in Civil and Commercial Matters, done at Brussels,1968, Convention on Jurisdiction and the Enforcement of Judgments in Civil and Commercial Matters, done at Lugano,1988, Concepts of Conflict of Laws Rules and Private International Law in certain countries and the relevant provisions of Thai laws. Choice of forum in international commercial litigation is based on consensus of the parties concerning dispute resolution during contract drafting. Such clause is to prevent the parties from the risk occurred by varied result of judgment and concurrent proceedings in several jurisdictions. Unlike the above there are no such provisions about choice of forum in Thai Civil Procedure Code and thus entitle only the plaintiffs to bring their action to the Court within the territorial jurisdiction in which the defendant is domiciled or the cause of action arose. Since the absence of the provisions of Choice of Forum, it is arguable that Choice of Forum can not be established in Thai Court and such clause shall be deemed as void for contrary to public order. This author is of the opinion that the provisions of court jurisdiction of Thai laws might not conform with international trade practice and private international law. In this thesis, the amendment of Civil Procedure Code by stipulating the provisions of acceptance of agreement done by the parties on choice of forum in international commercial dispute is proposed subject to the power of the court to examine and review such agreement whether it is contrary to the provisions of the Unfair Contract Terms Act B.E.2540 with the opportunity for the defendant to raise the issues of forum non conveniens and lis alibi penden.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศาลยุติธรรมระหว่างประเทศen_US
dc.subjectกฎหมายระหว่างประเทศ -- คดีบุคคลen_US
dc.subjectเขตอำนาจศาลen_US
dc.subjectInternational Court of Justiceen_US
dc.subjectInternational lawen_US
dc.subjectJurisdictionen_US
dc.titleข้อตกลงเลือกศาลในคดีพาณิชย์ระหว่างประเทศen_US
dc.title.alternativeChoice of forum in international commercial litigationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhijaisakdi.H@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujin_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ834.17 kBAdobe PDFView/Open
Sujin_ja_ch1_p.pdfบทที่ 1995.67 kBAdobe PDFView/Open
Sujin_ja_ch2_p.pdfบทที่ 22.89 MBAdobe PDFView/Open
Sujin_ja_ch3_p.pdfบทที่ 32.86 MBAdobe PDFView/Open
Sujin_ja_ch4_p.pdfบทที่ 41.88 MBAdobe PDFView/Open
Sujin_ja_ch5_p.pdfบทที่ 5889.1 kBAdobe PDFView/Open
Sujin_ja_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.