Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65163
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพนันท์ ตาปนานนท์-
dc.contributor.advisorจิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ-
dc.contributor.authorสุมนมาลย์ กาญจนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-06T06:37:46Z-
dc.date.available2020-04-06T06:37:46Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.issn9741700792-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65163-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่บริเวณเสาชิงช้าที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามกรอบของโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ จากการศึกษาและวิเคราะห์ในรายละเอียด โดยอาศัยวิธีการของการออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design) พบว่า พื้นที่บริเวณเสาชิงช้าเป็นพื้นที่ที่ศักยภาพในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สูง ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถบรรเทาปัญหาที่จอดรถของกรุงรัตนโกสินทร์ได้ เนื่องจากสภาพของตัวพื้นที่เองประกอบกับความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีต จึงได้ผลของพื้นที่ในอนาคตไว้โดยรวม คือ การเป็นจุดเริ่มต้นของการบอกเล่าให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในแง่ของความเป็นมาและวิถีชีวิตของคนในกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเสนอการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของอาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแนวโน้มในการย้ายออกจากพื้นที่ตามนโยบายของกรุงรัตนโกสินทร์ มาเป็นอาคารที่ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนตัวอย่างเช่น ศูนย์ประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม หรือพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น การเสนอแนะแนวทาง ได้แสดงแนวความคิดในการประสานโครงการต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ในบริเวณ ตามโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยการเชื่อมโยงระบบการสัญจรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงฟื้นฟูอาคารเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมกับความต้องการในปัจจุบัน และแนวทางการออกก่อสร้างอาคารใหม่ ที่ส่งเสริมให้พื้นที่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ยังเสนอแนวความคิดในการออกแบบระบบพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ การวางผังปรับปรุงชุมชนเดิมโดยรอบคุณภาพของภูมิทัศน์ในพื้นที่ รวมถึงการรักษาโครงสร้างเดิมของพื้นที่ที่มีความสำคัญไว้ ในการเสนอแนะแนวทางในการนำไปปฏิบัติ นอกจากจะเสนอแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ให้กับกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ในส่วนของภาคเอกชน จะมุ่งเน้นแนวทางสำหรับการใช้มาตรการด้านกฎหมายในลักษณะของข้อกำหนดชี้นำ (Guidelines) ที่เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายต่าง ๆ ที่มีอยู่ ดังนั้น จึงมีความเป็นจริงในการนำไปปฏิบัติสูง-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to search for appropriate methodology in the urban conservation and regeneration around Sao Chingcha in corresponding to the framework outlined for future development at Krung Rattanakosin area. As a result, from the detailed study and analysis by the urban design methodology, we could conclude that Sao Chingcha is a highly potential area for development in various dimensions. Additionally, it simply a landlord that could resolve car parking problem at Krung RattanaKosin area. As certain appropriate conditions of the landscape itself (the basement of buildings of Bangkok Metropolitan Authority (BMA) located there have plenty of car parking area), in accompany with its geographically importance as a center city of Krung Rattanakosin in the past, we thus can come up with such the conclusion are able to define development strategy, target, as well as future layout and activity planning. These include an initiation to provide basicknowledge and understanding of Krung Rattanakosin, especially back history and ways of iife of the people living in the old Krung Rattanakosin. This can be done, for example, through proposing to modify the main function of the BMA, which has a tendency to move out from the area, to become a building center highlighting art & cultural and supporting life in the community instead e.g. an establishment of historical - cultural center or museum.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟื้นฟูเมืองen_US
dc.subjectชุมชน -- การอนุรักษ์และฟื้นฟูen_US
dc.subjectเสาชิงช้า (กรุงเทพฯ)en_US
dc.subjectกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกen_US
dc.subjectUrban renewalen_US
dc.subjectCommunities -- Conservation and restorationen_US
dc.subjectSao Chingcha area, Bangkoken_US
dc.titleแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่บริเวณเสาชิงช้า กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe urban conservation and regeneration of Sao Chingcha area, Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการออกแบบชุมชนเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNopanant.T@chula.ac.th-
dc.email.advisorJittisak.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumonmarn_ka_front.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ603.74 kBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_ch1.pdfบทที่ 1811.97 kBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_ch2.pdfบทที่ 2647.76 kBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_ch3.pdfบทที่ 319.77 MBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_ch4.pdfบทที่ 43.21 MBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_ch5.pdfบทที่ 511.77 MBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_ch6.pdfบทที่ 6302.39 kBAdobe PDFView/Open
Sumonmarn_ka_back.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.