Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6518
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรีพร ธนศิลป์ | - |
dc.contributor.author | นารี ชื่นคล้าย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-03T09:40:48Z | - |
dc.date.available | 2008-04-03T09:40:48Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741429002 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6518 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการปวด ด้วยตนเองต่อ ความปวดของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา ภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันที และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีที่ แผนกรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2549 จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีคุณสมบัติคล้ายคลึงในเรื่อง ตำแหน่งของโรค ระยะของโรค การได้รับยาเคมีบำบัดร่วม และชนิดของรังสีที่ได้รับ เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลอง คือโปรแกรมการจัดการกับอาการปวดด้วยตนเองประกอบด้วย การประเมินปัญหาและ ความต้องการ การให้ข้อมูล การฝึกทักษะปฏิบัติ และการส่งเสริมและสนับสนุน โปรแกรมการจัดการ กับอาการปวดด้วยตนเองได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินความปวด Brief pain inventory ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคในส่วนของความรุนแรงของอาการปวดเท่ากับ .733 และการรบกวนการปฏิบัติกิจกรรม ที่เกิดจากอาการปวดเท่ากับ .837 เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อ จัดการกับอาการปวดซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .775 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการ ปวดด้วยตนเอง มีความปวดภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันทีน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษากลุ่มที่ได้รับโปรแกรม การจัดการกับอาการปวดด้วยตนเองมีความปวดภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.5 ดังนั้นโปรแกรมการจัดการกับอาการปวด ด้วยตนเองสามารถลดความรุนแรงของอาการปวดและการรบกวนการปฏิบัติกิจกรรมเนื่องจากอาการปวด ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาได้ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of the PRO-SELF pain control program on pain in head and neck cancer immediately and 2 weeks receiving the program. The participants consisted of 40 head and neck cancer patients receiving radiation at Oncology center of King Chulalongkorn Memorial Hospital from February 1, 2006 to March 31, 2006. The patients were randomly assigned to an experimental group and a control group by matched pair technique. The research instrument was the PRO-SELF pain control program. This program has four dimensions: (1) Problem Assessment & Needs Identification, (2) Provision of Information, (3) Skill Building, and (4) supportive care. Pain was evaluated by Brief pain inventory. The instrument was validated by a panel of experts. The Cronbach's alpha coefficient of severity of pain was .733 and pain interferes was .837. A self care behavior of pain questionnaire was also used to monitor the experiment. The instrument was validated by a panel ofexperts. The Cronbach's alpha coefficient of questionnaire was .775. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means, standard deviation and t-test. Major results were as follows: 1. The pain score of the experimental group immediately after receiving the program was significantly lower than that of the control group (p<.05). 2. The pain score in the experimental group 2 weeks after receiving the program was significantly lower than that of the control group (p<.05). The results suggest that the PRO-SELF pain control program may reduce severity of pain and pain interferes in head and neck cancer patients receiving radiation. | en |
dc.format.extent | 1407546 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศรีษะ -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี | en |
dc.subject | คอ -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี | en |
dc.subject | ความเจ็บปวด | en |
dc.subject | มะเร็ง -- ผู้ป่วย | en |
dc.title | ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการกับอาการปวดด้วยตนเองต่อความปวดของผู้ป่วยมะเร็งศรีษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา | en |
dc.title.alternative | The effect of using the pro-self pain control program on pain in head and neck cancer patients receiving radiation | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sureeporn.T@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.