Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65302
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิฑิต มันตาภรณ์-
dc.contributor.authorวันวิภา สุขสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-12T19:51:01Z-
dc.date.available2020-04-12T19:51:01Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741797672-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65302-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงบทบาทของคณะมนตรีความมั่นคงและความสัมพันธ์กับศาลอาญาระหว่างประเทศ ด้วยการศึกษาถึงอำนาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงตามกฎบัตรสหประชาชาติ ที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินการจนนำไปสู่การดำเนินการภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมของศาลอาญาระหว่างประเทศ อีกทั้งได้มีการศึกษาไปถึงบทบาทของคณะมนตรีความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับศาลระหว่างประเทศในอดีต จากการศึกษาพบว่า องค์กรทางการเมืองอย่างคณะมนตรีความมั่นคง เมื่อดำเนินการในศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมีทั้งส่วนที่เป็นข้อส่งเสริมและข้อจำกัดการดำเนินงานของศาลกล่าวคือ การทำหน้าที่เป็นผู้นำคดีไปสู่ศาลได้นั้น เป็นการช่วยผลักดันให้ผู้กระทำผิดไปสู่การดำเนินคดีของศาล ช่วยอุดช่องว่างของกฎหมายในการนำมาซึ่งความรับผิดชอบของปัจเจกชน และการที่คณะมนตรีความมั่นคงสามารถดำเนินการได้กับทั้งรัฐที่เป็นภาคีและมิได้เป็นภาคีนั้นคณะมนตรีความมั่นคงยังคงมีบทบาทในการช่วยบังคับใช้กฎหมายให้ได้รับการปฏิบัติ รวมทั้งการมีบทบาทในการช่วยกลั่นกรองการดำเนินคดีของศาล แต่ในขณะเดียวกันนั้น ธรรมนูญของศาลอาญาระหว่างประเทศได้ให้อำนาจแก่คณะมนตรีความมั่นคงที่ถึงขนาดที่จะทำให้เกิดการกีดกันการดำเนินงานของศาล โดยการออกข้อมติไม่ให้ศาลเริ่มดำเนินการหรือให้ศาลหยุดการดำเนินการเป็นระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระของศาลได้ ดังนั้นลำพังแต่การใช้อำนาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงที่มี จะไม่เพียงพอต่อการที่จะนำไปสู่การปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพได้ ศาลอาญาระหว่างประเทศกับคณะมนตรีความมั่นคง จึงควรที่จะมีบทบาทที่สอดคล้องกันอย่างชัดเจน เพื่อที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทในการปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศของทั้งสององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the role of the Security Council and its relationship with the International Criminal Court in terms of its power according to the Charter of the United Nations which forms the basis for its operationalization under the Rome Statute of the International Criminal Court. The study also includes the role of the Security Council related to international tribunals in the past. Tie study's findings reveal that there are both benefits and limitations for the operation of a political body like the Security Council in the International Criminal Court. The power one Security Council to trigger the jurisdiction of the court enables the prosecution of perpetratrs and it closes legal loopholes in regard to individual responsibilities. The Security ouncil also has power over States Parties and Non-State Parties, and plays a role in law erorcement and the initial scrutiny of cases to be referred to the court. However, the Rome stute of the International Criminal Court empowers the Security Council to such an extent tit could hinder the court’s performance by way of a resolution adopted under Chapter'll of the Charter of the United Nations to the extent that no investigation or prosecuin may be commenced or undertaken for a period of 12 months. Therefore, the sole exeise of the existing power of the Security Council is not adequate for the effective suppress of international crimes. The role of the International Criminal Court should be clearly nsistent with that of the Security Council in order to promote the role of both organizons in the suppression of international crimes.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติen_US
dc.subjectกฎหมายระหว่างประเทศen_US
dc.subjectศาลยุติธรรมระหว่างประเทศen_US
dc.subjectศาลอาญาระหว่างประเทศen_US
dc.subjectInternational lawen_US
dc.subjectInternational Court of Justiceen_US
dc.subjectInternational criminal courtsen_US
dc.titleบทบาทของคณะมนตรีความมั่นคงและความสัมพันธ์กับศาลอาญาระหว่างประเทศen_US
dc.title.alternativeThe role of the security council and its relationship with the International Criminal Courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wunvipa_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ818.89 kBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_ch1_p.pdfบทที่ 1729.41 kBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.85 MBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_ch3_p.pdfบทที่ 32.63 MBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.85 MBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.9 MBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_ch6_p.pdfบทที่ 61.1 MBAdobe PDFView/Open
Wunvipa_su_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.