Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65374
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศศิธร บุญ-หลง-
dc.contributor.authorพรเกียรติ สมหวัง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-17T15:42:54Z-
dc.date.available2020-04-17T15:42:54Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740314023-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65374-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ทำการศึกษาการสกัดสารเคอร์คูมินอยด์ออกจากขมิ้นชัน เพื่อใช้เป็นสารให้สีธรรมชาติในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้สารพอลีออกซีเอทิลีน ซอร์บิแทน โมโนโอลีเอต (ทวี 80) เป็นตัวทำละลาย ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ในส่วนแรก เป็นส่วนการเตรียมวัตถุดิบ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบการสกัดน้ำมันระเหยระหว่างวิธีการกลั่นด้วยน้ำร้อนและ วิธีการกลั่นด้วยไอน้ำโดยตรง เพื่อหาวิธีการสกัดและเวลาการสกัดที่เหมาะสม ในส่วนที่สอง ทำการศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ต่อการสกัดสารเคอร์คูมินอยด์ออกจากขมิ้นชัน เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัด ปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ความเร็วรอบการปั่นกวนอุณหภูมิการสกัด เวลาการสกัด อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักผงขมิ้นชันต่อปริมาตรตัวทำละลาย ขนาดผงขมิ้นชันค่าความเข้มข้นของสารทวีน 80 ในตัวทำละลาย และค่าความเป็นกรด-ด่าง ในส่วนสุดท้าย เป็นการวิเคราะห์การลงทุนเพื่อตั้งโรงงานผลิตสารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชันในประเทศไทย สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จากผลการทดลองพบว่า วิธีการกลั่นด้วยไอนํ้าโดยตรง เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมวัตถุดิบ โดยมีระยะเวลาการกลั่นที่เหมาะสมเท่ากับ 5 ชั่วโมง และพบว่า สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดสารเคอร์คูมิ นอยด์ออกจากขมิ้นชัน คือ เมื่อทำการสกัดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 20 นาที โดยให้อัตราส่วนระหว่างนน้ำหนักผงขมิ้นชันต่อปริมาตรตัวทำละลายมีค่าเท่ากับ 1 กรัม ต่อ 150 ซี.ซี. และค่าความเร็วรอบการปั่นกวนมีค่าเท่ากับ 340 รอบต่อนาที ในส่วนของวัตถุดิบ ใช้ผงขมิ้นชันที่สามารถผ่านตะแกรงร่อนเมช 60 ได้ และใช้ตัวทำละลายที่มีค่าความเข้มข้นของสารทวีน 80 ในตัวทำละลายเท่ากับ 3 % โดยนํ้าหนัก ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วงระหว่าง 6.3 ถึง 6.7 ซึ่งสภาวะดังกล่าวให้ค่าร้อยละการสกัดสูงสุด เท่ากับ 99.6 % ในการวิเคราะห์การลงทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ พบว่า ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 18 ล้านบท โดรงการดังกล่าวให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนก่อนและหลังคิดภาษีคิดเป็น 15.71, 13.35 % ตามลำดับ และระยะเวลาการคืนทุน 3.97 ปี นับเป็นโครงการหนึ่งที่น่าสนในสำหรับการลงทุนในขั้นอุตสาหกรรม-
dc.description.abstractalternativeExtraction of curcuminoids from turmeric for use as natural food colorant using polyoxyethylene sorbitan monooleate (tween 80) as solvent was studied. The study was divided into three sections. In the first section, removal of volatile oil from turmeric was studied by comparing between water distillation and direct steam distillation methods. Optimum conditions of various factors for extraction of curcuminoids from turmeric were investigated in the second section. The factors were temperature and time of extraction, speed of mixing, ratio of turmeric weight to solvent volume, particle size of turmeric, concentration of tween 80 in the solvent and pH value. In the last section, a basic economic analysis was performed for investment on curcuminoids production plant in Thailand. Results showed that the method of direct steam distillation for removal of volatile oil from turmeric was suitable and the time of extraction was 5 hours. Optimum conditions for curcuminoids extraction were as follow: extraction temperature of 60.c for 20 minutes; mixing speed of 340 revolutions per minute; ratio of turmeric weight to solvent volume was! gram per cubic centimeter; particle size of turmeric were those that passed through 60-mesh screen; concentration of tween 80 in solvent was 3 percent by weight and pH value ranging between 6.3 to 6.7. Under these conditions maximum amount of curcuminoids extracted was 99.6%. Estimation of investment cost in establishing a 6,000 cubic meters per year curcuminoids plant showed a total capital investment of approximately 18 million baht, with rate of return on investment before tax of 15.71% and after tax of 13.35% giving a pay back period of 3.97 year. Therefore it is considered to be an attractive project for investment on an industrial scale.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectขมิ้นชัน-
dc.subjectสีผสมอาหาร-
dc.subjectน้ำมันหอมระเหย-
dc.subjectสารลดแรงตึงผิว-
dc.subjectTurmeric-
dc.subjectColoring matter in food-
dc.subjectEssences and essential oils-
dc.subjectSurface active agents-
dc.titleการสกัดสารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชัน โดยใช้สารพอลีออกซีเอทิลีน ซอร์บิแทน โมโนโอลีเอต-
dc.title.alternativeExtraction of curcuminoids from turmeric using polyoxyethylene sorbitan monooleate-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมี-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornkiat_so_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ920.21 kBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_ch1_p.pdfบทที่ 1784.68 kBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_ch2_p.pdfบทที่ 21.5 MBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_ch3_p.pdfบทที่ 31.12 MBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_ch4_p.pdfบทที่ 41.59 MBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_ch5_p.pdfบทที่ 51.09 MBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_ch6_p.pdfบทที่ 6646.77 kBAdobe PDFView/Open
Pornkiat_so_back_p.pdfบรรณานุกรม และ ภาคผนวก3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.