Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65609
Title: การศึกษาสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบสัมผัสและระเหยโดยตรง
Other Titles: Study on the performance of a direct contact and evaporative cooler
Authors: พรชัย สุวัฒน์เมฆินทร์
Advisors: ตุลย์ มณีวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tul.m@chula.ac.th,tul.m@chula.ac.th
Subjects: การปรับอากาศ
การทำความเย็นแบบระเหย
Air conditioning
Evaporative cooling
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบทำความเย็นแบบสัมผัสและระเหยโดยตรงมีการติดตั้งใช้งานกันอย่างแพร่หลายในภาคเกษตรกรรม เช่น ในโรงเรือนเพาะปลูก หรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีข้อดี คือ สามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในระบบ โดยมีต้นทุนในการติดตั้ง การทำงาน และการบำรุงรักษาตํ่าเมื่อเทียบกับระบบปรับอากาศแบบอื่น แต่ปัญหาที่สำคัญของระบบนี้ คือ หากอากาศภายนอกมี ความชื้นสัมพัทธ์สูง ระบบจะสามารถลดอุณหภูมิอากาศลงได้ไม่มากนัก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบสัมผัสและระเหยโดยตรง ทั้งแบบอะเดียบาติกและแบบที่ไม่เป็นอะเดียบาติก โดยทำการศึกษาผลของอัตราการไหลเชิงมวลของน้ำและความเร็วลมที่มีต่ออุปกรณ์แบบอะเดียบาติก และศึกษาผลของอุณหภูมิน้ำขาเข้าและอัตราส่วนมวลน้ำต่อมวลอากาศที่มีต่ออุปกรณ์แบบที่ไม่เป็นอะเดียบาติก จากผลการทดลอง พบว่า ในส่วนของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบสัมผัสและระเหยโดยตรงแบบอะเดียบาติก อัตราการไหลเชิงมวลของน้ำจะไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศขาออกอย่างมีนัยสำคัญ แต่ความเร็วลมจะมีผลต่ออุณหภูมิอากาศขาออกของอุปกรณ์ กล่าวคือ การใช้ความเร็วลมตํ่า จะส่งผลให้อุณหภูมิอากาศขาออกลดตํ่าลง สำหรับในส่วนของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบสัมผัสและระเหยโดยตรงแบบที่ไม่เป็นอะเดียบาติก อุณหภูมิน้ำขาเข้าที่จ่ายให้อุปกรณ์จะ มีผลต่ออุณหภูมิอากาศขาออก กล่าวคือ เมื่อลดอุณหภูมิน้ำขาเข้าลง จะส่งผลให้อุณหภูมิอากาศขาออกลดตํ่าลง ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิอากาศขาออกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ อัตราส่วนมวลน้ำต่อมวลอากาศ จากการศึกษาพบว่า การเพิ่มอัตราส่วนมวลน้ำต่อมวลอากาศ จะมีผลทำให้อุณหภูมิอากาศขาออกลดตํ่าลง นอกจากนี้ จากการทดลองยังพบอีกด้วยว่า ที่อุณหภูมิน้ำขา เข้าเดียวกัน การใช้อัตราส่วนมวลน้ำต่อมวลอากาศเท่ากัน อุณหภูมิอากาศขาออกจะมีค่าใกล้เคียงกัน
Other Abstract: A direct contact evaporative cooler has been widely used in various agricultural sectors such as green-houses or animal barns. It has many advantages such as reducing ventilating air temperature, low cost of installation, operation and maintenance when compared with the other type of environmental control systems. This system, however, has a major deficiency particularly in lowering supply air temperature when the ambient air has high relative humidity. This research studied a performance of a direct contact evaporative cooler for both adiabatic and non-adiabatic types. Two set of experiments were conducted. The first one was conducted to analyze the effects of water mass flow rates and also the effect of air velocity on the adiabatic system. The second one was conducted to find the effect of various inlet water temperatures and water-to-air mass flow ratios on nonadiabatic system. The results showed that in the adiabatic system the water mass flow rates had a little effect on the outlet air temperature while the air velocity has much greater effect. The use of low air velocity would assist in lowering outlet air temperature. In the nonadiabatic system the temperature of the inlet water has large effect on the outlet air temperature. The lower inlet water air temperature had a remarkable low outlet air temperature. The important factor effecting outlet air temperature is the water-to-air mass flow ratio. It was also found that increasing water-to-air mass flow ratio could lower the outlet air temperatures. In addition, we also found that at a fixed inlet water temperature using similar water-to-air mass flow ratio would produce a similar outlet air temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65609
ISBN: 9741736665
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornchai_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.17 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_su_ch1_p.pdfบทที่ 1635.15 kBAdobe PDFView/Open
Pornchai_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.21 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.57 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_su_ch4_p.pdfบทที่ 41.1 MBAdobe PDFView/Open
Pornchai_su_ch5_p.pdfบทที่ 5618.33 kBAdobe PDFView/Open
Pornchai_su_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก5.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.