Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorอโณทัย ตันเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-24T07:34:03Z-
dc.date.available2020-06-24T07:34:03Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741421605-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66564-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาต่อพฤติกรรมการให้อาหารของมารดาและน้ำหนักของเด็กอ้วนวัยก่อนเรียน ศึกษาในมารดาเด็กอ้วนวัยก่อนเรียนที่มีอายุ 4-6 ปี จำนวน 38 คน จับสลากเพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้กลุ่มทดลอง 19 คน และกลุ่มควบคุม 19 คน แล้วจับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในเรื่องของเพศและอายุ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดา ส่วนกลุ่มควบคุมปฏิบัติตนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura (1997) และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็กอ้วนวัยก่อนเรียน ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .89 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการให้อาหารของมารดาหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการให้อาหารของมารดากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาดีกว่ากลุ่มที่ปฏิบัติตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวของเด็กอ้วนวัยก่อนเรียนที่เพิ่มขึ้นหลังมารดาได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถต่ำกว่ากลุ่มที่ปฏิบัติตนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were to investigate the effects of using the perceived self-efficacy promoting program for mothers on feeding behavior of mothers and body weight of obese preschool children. The research sample consisted of 38 mothers of obese preschool children for 4-6 years, equally assigned to experimental group and control group by mactching sex and age. The experimental group received the perceived self-efficacy promoting program for mothers using self-efficacy theory of Bandura (1997) and the control group remain their normal lives. The instrument for collecting data consisted of feeding behavior of mothers questionnaire which was tested by a group of experts for experts for content validity. The reliability of this questionnaire was .89. Data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The major findings were as follows: 1. The mean score on feeding behavior of the mothers after received the perceived self-efficacy promoting program was significantly better than before receiving the program, at the statistical level of .05. 2. The mean score on feeding behavior of the group of mothers who received the perceived self-efficacy promoting program was significantly better than those who were remain their normal lives, at the statistical level of .05. 3. The mean increasing bodyweight of obese preschool children after mothers received perceived self-efficacy promoting program was significantly less than those whose mothers remain normal lives, at the statistical level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคอ้วนในเด็กen_US
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียนen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectความเป็นมารดาen_US
dc.subjectObesity in childrenen_US
dc.subjectPreschool childrenen_US
dc.subjectPerceptionen_US
dc.subjectMotherhooden_US
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาต่อพฤติกรรมการให้อาหารของมารดาและน้ำหนักตัวของเด็กอ้วนก่อนเรียนen_US
dc.title.alternativeEffects of using the perceived sele-efficacy promoting program for mothers on feeding behavior of mothers and body weight of obese preschool childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbranom.r@chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anothai_ta_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ837.02 kBAdobe PDFView/Open
Anothai_ta_ch1_p.pdfบทที่ 11.17 MBAdobe PDFView/Open
Anothai_ta_ch2_p.pdfบทที่ 22.24 MBAdobe PDFView/Open
Anothai_ta_ch3_p.pdfบทที่ 31.39 MBAdobe PDFView/Open
Anothai_ta_ch4_p.pdfบทที่ 4795.35 kBAdobe PDFView/Open
Anothai_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.44 MBAdobe PDFView/Open
Anothai_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.