Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66585
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขวัญสรวง อติโพธิ-
dc.contributor.authorอธิติ กัลปนาทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-25T07:12:46Z-
dc.date.available2020-06-25T07:12:46Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741432577-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66585-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงการตั้งถิ่นฐานของ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างแก่เมืองที่กำลังเกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอื่นๆ ให้ทราบถึงรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่อ่าวนาง จากการศึกษาค้นพบว่าการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงการตั้งถิ่นฐาน ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สภาพของอาคารบ้านเรือน อาชีพ วิถีชีวิตของชาวบ้าน และสภาพแวดล้อม ซึ่งล้วนแต่เกิดการปรับตัวให้สอดรับกับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ด้วยเหตุที่การเปลี่ยนแปลงต่างๆนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การพัฒนาส่วนใหญ่นั้นขาดซึ่งการวางแผนและการควบคุมดูแล ทำให้กลุ่มคนซึ่งสามารถหาผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวล้วนแต่ตักตวงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ปัญหาต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ไม่พึงประสงค์สำหรับเมืองท่องเที่ยว โดยเฉพาะปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของธรรมชาติในพื้นที่ อันจะทำให้ภาวะการท่องเที่ยวในพื้นที่ถึงระดับตกต่ำ จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถแยกเป็นประเด็นแผนงานได้ดังนี้ 1.แผนงานด้านการจัดการสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 2.แผนงานด้านการจัดการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ 3.แผนงานด้านการจัดการผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ 4.แผนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของคนในชุมชน ข้อเสนอแนะหลักในการจัดการพื้นที่คือ ควรมีความร่วมมือกันในการดูแลจัดการพื้นที่ระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนที่ลงทุน และชาวบ้านในพื้นที่ ให้เกิดการแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมและร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของอ่าวนางให้ยั่งยืนต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe Objectives of this study are to understand the transformation of Ao Nang, Krabi Sattlements for being a sample to other tourism developing cities. And Knows about the transforming system in Physical Economical social and Environment that could happen in the same case of Ao Nang area. This thesis found that tourism development in the area under study take and direct impact to the transforming settlements, Including development of Infrastructure. Architectural, occupations, life style and environment for carry tourism development capacity. For the reason the rapid transforming makes the development lack of planning and controlling. There are some groups of people take benefit from tourism from the limited natural resources. cause many problems. These problems are the most undesirable for tourism cities. Especially, the environmental problem and deteriorative Nature in the area make the tourism status decline. From the study found that the problems could separate into 1.Management of environment and natural resources plan 2.Management of public utilities and Infrastructures plan 3.Management of benefits and population participate 4.Development of life style economical and social of community populations Main Recommendations in manage the area: it should be cooperated of management between government, private sectors and populations in equitable benefit apportion and participate in continuing environment and natural resources development of Ao Nang-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการตั้งถิ่นฐานen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- การวางแผนen_US
dc.subjectอ่าวนาง (กระบี่)en_US
dc.subjectTravel-
dc.subjectLand settlement-
dc.subjectTourism -- Planning-
dc.subjectAo Nang (Krabi)-
dc.titleการเปลี่ยนแปลงสภาพการตั้งถิ่นฐานอันเนื่องมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา บริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่en_US
dc.title.alternativeTransformationof settlements resulting from tourism development : a case study of Ao Nang, Krabi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athiti_ka_front_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_ch1_p.pdf875.05 kBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_ch2_p.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_ch3_p.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_ch4_p.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_ch5_p.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_ch6_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Athiti_ka_back_p.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.