Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6670
Title: การตรวจสอบความตรงและน้ำหนักความสำคัญของตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A Validation and important weights of educational standard indicators for basic eduacation external quality evaluation
Authors: จอมทัพ ขวัญราช
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษา
การศึกษา -- มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การประเมิน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลตัวบ่งชี้ของตัวบ่งชี้ ตามมาตรฐานการศึกษาในการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาน้ำหนักความสำคัญของมาตรฐานและตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานการศึกษา ในการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานการศึกษา ในการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างกลุ่มผู้ชำนาญการ กลุ่มผู้ประเมินภายนอก และกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ชำนาญการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 175 เขตพื้นที่จำนวน 525 คน ผู้ประเมินภายนอก จากหน่วยประเมินภายนอกทั้งหมด 135 หน่วยจำนวน 675 คน และกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา จากสถานศึกษาทั้งสิ้น 240 แห่งจำนวน 1,200 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็นตัวแปรในตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านผู้เรียน ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัวแปร วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 32 ตัวแปร ตัวแปรในตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านครู ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 2 ตัวแปร วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 13 ตัวแปร และตัวแปรในตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านผู้บริหาร ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร วัดตัวแปรสังเกตได้ 15 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถรม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ .77.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านผู้เรียนมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ (chi-square)=123.07 ; p=.984 ที่องศาอิสระ =159 ค่า GFI=0.994 ค่า AGfI=0.982 และค่า RMSEA=0.000 โดยมาตรฐานที่ 4 เป็นองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด โมเดลมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่าง กลุ่มผู้ชำนาญการ กลุ่มผู้ประเมินภายนอก และกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา โดยให้ค่าไค-สแควร์ = 14.961, df=16, p=.527, GFI=.999 และ RMR=.003 โมเดลสำหรับแต่ละกลุ่มมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบ 2. โมเดลตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านครูมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ =6.22; p=.986 ที่องศาอิสระ =16 ค่า GFI=0.999 ค่า AGFI=0.996 และค่า RMSEA =0.000 โดยมาตรฐานที่ 9 เป็นองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด โมเดลมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มผู้ชำนาญการ กลุ่มผู้ประเมินภายนอก และกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา โดยให้ค่าไคสแควร์ =50.128, df=37,p=.061, GFI=.997 และ RMR=.013 โมเดลสำหรับแต่ละกลุ่มมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกท่าที่ทดสอบ 3. โมเดลตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านผู้บริหารมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยให้ค่าำไค-สแควร์ (chi-square) เท่ากับ 45.36; p=.695 ที่องศาอิสระเท่ากับ 51 ค่า GFI เท่ากับ 0.995 ค่า AGFI เท่ากับ 0.990 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.000 โดยมาตรฐานที่ 11 เป็นองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด โมเดลมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มผู่ชำนาญการ กลุ่มผู้ประเมินภายนอก และกลุ่มครูผู้บริหารสถานศึกษา โดยให้ค่าไค-สแควร์เท่ากบ 119.127, df = 103, p = .132, GFI = .994 และ RMR = .006 โมเดลสำหรับแต่ละกลุ่มมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบ
Other Abstract: To 1) validate of the educational standard indicators for basic educational external quality evaluation 2) study important weights of standards and indicators for basic educational external quality evaluation, and 3) test the invariance of the hypothetical model across groups of experts, external evaluators and teachers. The research sample consisted 525 experts of 175 educational service area offices, 675 external evaluators of external evaluation offices and 1,200 teachers of 240 schools. Data consisted of 3 constructs as student educational standard indicators, teacher educational standard indicators and administrator educational standard indicators and 60 variables measuring 14 latent variables. The research instruments were 3 questionnaires having reliability for each variables ranging from .77-.97. Data analysis were descriptive statistics. Pearson's product moment correlation using SPSS 11.0. Structural equation model analysis using LISREL 9.53 and content analysis. The major findings were as follows 1) The student educational standard indicators model ws valid and fit to empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 123.07, p=.984, df=159, GFI=0.994, AGFI=0.982 and RMSEA = .000. The most important weights was the 4th standard. The hypothetical models were invariant in term of model form but they were invariant in term of parameters. 2) The teacher educational standard indicators model was valid and fit to empirical data. The model indicated hat the Chi-square goodness of fit test was 6.22, p=.986, df=16, GFI=0.999, AGFI=0.996 and RMSEA =.000. The most important weights was the 9th standard. The hypothetical models were invariant in term of model form but they were invariant in term of parameters. 3) the administrator educational standard indicators model was valid and fit to empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 45.36, p=.696, df=51, GFI=0.999, AGFI=0.994 and RMSEA =.000. The most important weights was the 11th standard. The hypothetical models were invariant in term of model form but they were invariant in term of parameters.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6670
ISBN: 9741438583
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jomtup_Kh.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.