Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66745
Title: การศึกษาแนวทางการออกแบบคานขวางกึ่งสำเร็จรูปของโครงข้อแข็งสำหรับทางยกระดับ
Other Titles: The Study for design guidelines of semi-prefabricated crosshead beams of the rigid frame for elevated highways
Authors: วีรเจต บัณฑุกุล
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ekasit.L@Chula.ac.th
Subjects: การก่อสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป
คานคอนกรีตอัดแรง
Precast concrete construction
Prestressed concrete beams
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเพื่อนำระบบก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูปของคานขวางรูปตัว T หงายของโครงข้อแข็งสำหรับทางยกระดับคานขวางกึ่งสำเร็จรูปในการศึกษานี้จะพิจารณาคานขวางเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ขนส่งยกขึ้นติดตั้งให้เป็นแบบหล่อของชิ้นส่วนโครงสร้างหล่อในที่โดยพิจารณาออกแบบคานขวางกึ่งสำเร็จรูปเป็นส่วนของโครงข้อแข็งรองรับคานหลักรูป1. รูป T, รูป U และรูปBox มีความยาวช่วงที่เหมาะสมที่ 30, 35, 32 และ 45 เมตรตามลำดับและรองรับสภาพการใช้งานของ 3, 4 และ6 ช่องจราจรภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดระหว่างการก่อสร้างและของการใช้สอยระยะยาว การศึกษาได้กำหนดความหนาของชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของบ่ารองรับคานหลักและพิจารณาความกว้างของชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากพฤติกรรมการตัดของคานขวางที่แล้วเสร็จโดยที่ความสูงเท่ากับคานหลักและอาจเสริมเหล็กหรืออัดแรงให้รับแรงและน้ำหนักบรรทุกการใช้งานโดยสมบูรณ์จุดยกและการจัดระบบค้ำยันระหว่างการก่อสร้างจะควบคุมให้หน้าตัดวิกฤติไม่เกินพิกัดของโมดูลัสแตกร้าวจากการศึกษาพฤติกรรมของคานขวางพบว่าความหนาของส่วนสำเร็จรูปถูกควบคุมโดยพฤติกรรมการรับแรงเฉือนได้ความหนาที่ 40 ซม. สำหรับคานหลักรูปตัว I, 50 ซม. สำหรับคานหลักรูป T และรูป U และ 80 ซม. สำหรับคานหลักรูป Box การกำหนดจุดยกของชิ้นส่วนสำเร็จรูปพิจารณาจากน้ำหนักและความยาวช่วงยกโดยที่หน่วยแรงไม่เกินพิกัดพบว่าคานขวาง 3 ช่องทางจราจรสามารถใช้ 2 จุดยกแต่คานขวาง 4และ 6 ช่องจราจรจะต้องใช้ 4 จุดยกส่วนการจัดระบบโครงสร้างชั่วคราวให้ค้ำยันรองรับน้ำหนักบรรทุกก่อสร้างและควบคุมพิกัดการแตกร้าวพบว่าตำแหน่งค้ำยันชั่วคราวควรจัดห่างจากเสา 0.2 ของความยาวของคานขวางสำหรับ 3 ช่องจราจรและ 0.3 ของความยาวคานขวางสำหรับ4 และ6 ช่องจราจร การออกแบบคานขวางของระบบโครงสร้างที่แล้วเสร็จโครงข้อแข็งอาจพิจารณาใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงสร้างคอนกรีตอัดแรงขึ้นอยู่กับความยาวของคานขวางสำหรับ 3 และ 4 ช่องจราจรอาจใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้ปริมาณเหล็กเสริมอยู่ในพิกัด p ~18% แต่สำหรับ 6 ช่องทางจราจรอาจพิจารณาใช้ระบบคอนกรีตอัดแรงภายหลังโดยมีสัดส่วนอัดแรง pp~ 0.6% เมื่อตรวจสอบความสามารถการใช้งานทางด้านกำลังการแอ่นตัวและการแตกร้าวด้วยการวิเคาะห์หน้าตัดโครงสร้างชี้ชัดว่าคานขวางกึ่งสำเร็จรูปยังคงให้กำลังได้ดีเทียบเท่าการก่อสร้างตามวิธีการปกติส่วนการแอ่นตัวและรอยแตกร้าวที่ปรากฎที่จุดวิกฤติมีน้อยมากและต่ำกว่าพิกัดมากๆ จนอาจสรุปได้ว่าการก่อสร้างในระบบกึ่งสำเร็จรูปให้สมรรถนะทางโครงสร้างได้ดีเท่าระบบการก่อสร้างตามวิธีการปกติ
Other Abstract: This study has introduced a semi-prefabricated construction of rigid frame crosshead of inverted T precast sections to be utilized as formwork and temporary support of the cast-in-situ portion. The behaviors for strengths and serviceability must be satistfied the structural performance of short and long term. Typical highway girders as I, T, U, and Box with appropriate span lengths of 30, 35, 32and 45 m., respectively are used to accommodate 3, 4 and 6 lanes traffic. The study of structural behavior of precast portion has been controlled by the thickness as which shear to dominate the behavior with 40 cm. for I-Girder, 50 cm. for T and U girder, and 80 cm. for Box-Girder, Sizes of precast member by mean of width and height are controlled by overall height of the highway girders as which the width of the member must be designed to accommodate loads and structural performance. Numbers of lifting has found to be 2 points for 3 lanes crosshead and 4 points for 4 and 6 lanes crosshead. As far as the temporary supports are concerned, the performance under its own weight and the weight of cast-in-situ portion with out crack, then the temporary supports must be located at 0.2 and 0.3 of total length from the columns. For those of 3 lanes and 4, 6 lanes, respectively. Structural design of cross head frame as which may be considered as reinforced or prestressed concrete structures according to span length of the frame. It has indicated that 3 and 4 lanes frame could be the reinforced one with maximum reinforcement of p ~1.8%. It has also shown that 6 lanes frame would required some post-tensioning with the prestressing ratio (pp) of 0.6% M – Ø diagram to verify the structural performance as strengths, deformation and cracks under service loads. It is shown that the strengths are satisfied and agree well with the conventional construction, upon the serviceability as cracks and deformations have exhibited only in the critical section of very big margin. So it has proved that the semi-prefabricated construction can be performed well as those of the conventional ones.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66745
ISBN: 9741419848
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Werajate_ba_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ921.63 kBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_ch1_p.pdfบทที่ 1751.84 kBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_ch2_p.pdfบทที่ 2859.39 kBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_ch3_p.pdfบทที่ 31.21 MBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_ch4_p.pdfบทที่ 41.41 MBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_ch5_p.pdfบทที่ 5829.47 kBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_ch6_p.pdfบทที่ 6656.04 kBAdobe PDFView/Open
Werajate_ba_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก630.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.