Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66787
Title: | การแพร่กระจายและการเข้าถึงสื่อคอมพิวเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมในจังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | The diffusion and the access to computers of highschool students in Supanburi |
Authors: | ปรีดิ์เปรม เจริญศิลป์ |
Advisors: | วิภา อุตมฉันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | การสื่อสาร คอมพิวเตอร์จัดการสอน Communication Computer managed instruction |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแพร่กระจายและการเข้าถึงสื่อคอมพิวเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมในจังหวัดสุพรรณบุรีมีโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้งหมด 16 โรงใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือการสัมภาษณ์และการสังเกตและใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นส่วนเสริมโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้น ม.6 ของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวม 350 คน ผลการวิจัยพบว่ารัฐบาลได้เข้ามาสนับสนุนให้เกิดการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนโดยผ่านกระทรวงศึกษาธิการ 3 ด้านคือการจัดทำหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์, การจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์และการสนับสนุนด้านสื่ออินเทอร์เน็ตและพบว่าโรงเรียนได้ดำเนินการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติการดำเนินการในระดับนโยบายพบว่าส่วนใหญ่ได้มีการจัดทำแผนงานการแพร่กระตายสื่อคอมพิวเตอร์เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเฉพาะและระบุทั้งเป้าหมายและวิธีดำเนินการชัดเจนแต่ไม่ได้ระบุถึงระยะเวลาดำเนินการหรือวิธีประเมินประสิทธิผลส่วนการดำเนินการในระดับปฏิบัติการพบว่าโรงเรียนได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง sever มาใช้ด้วยตนเองและมีการให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อคอมพิวเตอร์แก่นักเรรียนโดยใช้ 6 วิธีการหลักคือการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อประเภทบอร์ด สื่อหนังสือและวารสาร สื่อ VCD ชมรมรคอมพิวเตอร์และการเปิดโอกาสให้นักเรียนใช้สื่อคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองนอกชั่วโมงเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ จากการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้ส่งผลต่อโรงเรียน 3 ด้านคือ 1. ผลด้านโรงสร้างกายภาพโดยส่วนใหญ่ต้องปรับใช้ห้องเรียนมาจัดทำเป็นห้องคอมพิวเตอร์ประมาณ 1-2 ห้องและได้ปรับห้องให้เหมาะสมเช่นได้จัดทำเป็นห้องกระจกมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและยังได้วางสายโทรศัพท์เพิ่มเพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. ผลด้านงบประมาณพบว่าการนำสื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนทำให้ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากแต่โรงเรียนส่วนใหญ่มีงบประมาณน้อยจึงส่งผลให้งบประมาณที่จัดสรรไปในด้านอื่นๆของโรงเรียนลดน้อยลง 3. ผลต่อบุคลากรพบว่าครูต้องรับภาระในการสอนและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสื่อคอมพิวเตอร์เพิ่มนอกจากนี้ยังต้องดูแลห้องคอมพิวเตอร์นอกชั่วโมงเรียนด้วยส่วนนักเรียนต้องจ่ายเงินบริจาคให้โรงเรียนคนละประมาณ 200-300 บาทต่อเทอม จากการดำเนินการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงนักเรียนดังกล่าวพบว่ายังไม่ประสบคามสำเร็จมากนักเนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคหลัก 5 ประการคือ 1. โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณโดยพบว่าเป็นอุปสรรคเนื่องจากากรนำสื่อคอมพิวเตอร์มาใช้จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากทั้งเพื่อจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์, ค่าไฟฟ้า, ค่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ฯลฯ 2. โรงเรียนซึ่งเป็นตัวกลางการแพร่กระตายสื่อคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงนักเรียนโดยตรงไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์มากเท่าที่ควรจึงทำให้การดำเนินการไม่อาจบรรลุผลอย่างแท้จริง 3. การสนับสนุนของรัฐบาลขาดคามต่อเนื่องส่งผลให้การดำเนินการไม่บรรลุผลหรือบรรลุผลล่าช้าเนื่องจากรัฐบาลเป็นองค์กรหลักที่ผลักดันให้เกิดการแพร่กระจายสื่อคอมพิวเตอร์เข้าไปในโรงเรียน 4. ครูขาดคความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่อาจถ่ายทอดความรู้และแนะนำการใช้ประโยชน์จากสื่อคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนได้ดีนัก 5. นักเรียนมีเวลาเข้าใช้สื่อคอมพิวเตอร์น้อย นั่นคือนักเรียนมีเวลาอยู่ในโรงเรียนจำกัดและมักต้องเรียนตลอดทั้งวันจึงไม่ค่อยมีเวลาทำคามคุ้นเคยและใช้สื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนมากนัก |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the diffusion of computers in high schools and how the students access to them. The sampling is students from 16 high schools in Supanburi province. Using mixed research methods, its main part is qualitative, conducted by interview and observation, while the supplementary part is quatitative, conducted by giving out questionnaires to 350 students at Mattayom 6 (Grade 12) level. To conclude, the results of this study are as followed : The government supports computer diffusion in schools by computer courses and providing computer devices with the internet. And the schools distribute computer media by themselves at both policy and operational level. Most of them have plans that are specifically written, and these plans clearly state objectives and practices but do not mention the length of time and how to evaluate the results. At the operational level, the results show that the schools have provided computers and servers for themselves, and that they have 6 ways to educate computer literacy to students, namely, providing computer courses, establishing computer club using announcement boards, computer books, magazines, Video, and allow the students use computers after classes. The diffusion affects the schools in three ways: First, Physical structure, it makes the schools adapt their normal classrooms for the computer classrooms. Most schools have to adapt 1-2 rooms for computer classes, and they make them glassed with air-conditioners and telephone lines. Second, the schools have financial problems since they have high expense from these while most of them only have small budgets. And last, the effect concerning both teachers and students, that is teachers have to learn more about computer in order to prepare themselves to teach their students, and also they have to take care of computer rooms when there is no class, while students have to donate to schools about 200-300 baht each semester. The results show that the mission of computer diffusion in schools has not been accomplished due to 5 obstacles, namely 1. The lack of budget since it requires much money to buy computer, pay for electric bill and internet service etc. 2. The schools themselves do not realize the importance of computer, so they are not likely to succeed at educating students 3. The government support lacks continuity, so the learning process has been delayed 4. Due to lacking of the computer knowledge leads the teacher can not give any knowledge or informs student how to use computer efficiently 5. Students do not have enough time to use and practice computers since they have to study all day. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66787 |
ISBN: | 9741764448 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeprem_ch_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 975.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 983.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preeprem_ch_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.