Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66953
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรทัย ชวาลภาฤทธิ์-
dc.contributor.authorเรืองศักดิ์ ซื่อประสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-10T04:11:08Z-
dc.date.available2020-07-10T04:11:08Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741749767-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66953-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้สารดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังในการกำจัดทองแดงจากน้ำเสียสังเคราะห์ สารดูดซับที่ใช้ในการวิจัยมีวิธีการเตรียมต่างกัน 2 วิธีวิธีที่ 1 คือกระตุ้นด้วยสารละลายกรดฟอสฟอริก ที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมงแล้วแช่ในสารละลาย NaHCO₃ (สารดูดซับแบบที่ 2) และวิธีที่ 2 กระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริก(H₃PO₄) ที่อุณหภูมิ 350°C เวลา 3 ชั่วโมง และล้างด้วยน้ำร้อน (สารดูดซับแบบที่ 3)โดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่ขายเป็นการค้าซึ่งถูกใช้เปรียบเทียบ เพื่อหาลักษณะทางเคมี-กายภาพที่แตกต่างกันของสารดูดซับทั้ง 3 แบบ สารดูดซับแต่ละตัวใช้น้ำเสียสังเคราะห์ทองแดงเพื่อหาสภาวะการกำจัดทองแดงที่เหมาะสม โดยปรับเปลี่ยนค่า ปริมาณของสารดูดซับ พีเอชเวลาสัมผัส เพื่อหาประสิทธิภาพการกำจัดทองแดงที่ดีที่สุดของสารดูดซับ โดยการทดสอบไอโซเทอมของสารดูดซับ และทำการทดลองแบบต่อเนื่องในคอลัมน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.54 เซนติเมตร ความยาว 1 เมตร โดยใช้การป้อนน้ำเสียแบบไหลลง ที่มีชั้นสารดูดซับ 0.30 เมตรและมีอัตราการไหล 0.912, 0.456 และ 0.304 ลิตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ จากผลการทดลอง สภาวะที่เหมาะสมของการเตรียมสารดูดซับ คือ สารดูดซับแบบที่ 2 ได้ผลิตภัณฑ์สารดูดซับร้อยละ 36.04 ร้อยละของเถ้า 4.80 ค่าการดูดซับไอโอดีน 460 mg/gพื้นที่ผิว 889.48 m²/g ปริมาตรโพรง 0.6044 cm³/g และขนาดโพรงเฉลี่ย 27.18 °Aจากการทดลองแบบแบตช์ พบว่า ที่พีเอช 4 ประสิทธิภาพการกำจัดทองแดงสูงสุดเท่ากับร้อยละ 95 เวลาสัมผัสที่เหมาะสม 8 ชั่วโมง จากการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวของสารดูดซับ สามารถอธิบายได้ด้วยไอโซเทอมฟรุนดลิช และความสามารถในการดูดซับทองแดงสูงสุดคือ 14.72 mgCu/gสารดูดซับ ผลการทดลองแบบต่อเนื่อง พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดทอง ด้วยคอลัมน์ที่ป้อนน้ำเสียแบบไหลลง ที่ความลึกของคอลัมน์ 30 ซม. ความเข้มข้นทองแดงเริ่มต้น 10 mg/l พบว่าที่จุดสิ้นสุดสภาพมีน้ำเสียที่กรองผ่านสารดูดซับแต่ละคอลัมน์ ปริมาตรเท่ากับคือ 749, 957 และ1,048 เท่าของปริมาตรคอลัมน์ ตามลำดับ ที่เวลาสัมผัสที่เหมาะสม 30 นาที-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the feasibility of copper removal from synthetic wastewater adsorbent (Adsb) prepared from cassava peel. Adbs was prepared by two different methods: 1. Activated by phosphoric acid at 350°C for 3 hours and soaked in sodiumhydrogencarbonate (the second type of Adbs); 2. Activated by phosphoric acid at 350°C for 3 hours followed by washing with hot water (the third type of Adbs). By commercialgrade activated carbon (AC) was used for comparison. Physical-Chemical characteristics of three different Adbs were determined. Each Adbs was tested with synthetic wastewater containing copper to find the optimum condition for copper removal. Parameters varied in the experiment were concentration of Adbs, pH values, and contact time. Isotherm test was then conducted with the best copper removal efficiency of Adbs. Finally, the continuous adsorptive column was studied using down flow column with a diameter of 2.54 cm, length 1.00 metre, height of Adbs of 0.30 metres, flowrate of 0.912,0.456, and 0.304 litres per hour, respectively. From the experimental results, the optimum condition for Adbs obtained was the second type of Adbs. The yield of the second Adbs activated in the study was 36.04%. The result from Adbs of property analysis showed ash, iodine adsorption, surface area, specific pore volume, and average pore size equaled to 4.8%, 460 mg/g, 889.48 m²/g, 0.6044 cm³/g and 27.18 °A, respectively. In batch studies, the highest removal efficiency for copper was achieved at 95%at pH 4, a significant amount of copper adsorbed within 8 hours of contact time. From adsorptive isotherm test, the results can be explained by Freundlich isotherm. Maximum adsorptive capacities of the second type of Adbs was equaled to 20.42 mgCu/g. adsorbent. According to the column of experimental results, the efficiency for copper removal was also studied in the adsorptive column by feeding down flow with synthetic wastewater containing 10mg/l of copper at the depth of column 30 cm. The result indicated the breakthrough volumes of each column was 749, 957 and 1,048 bed volumes, respectively. At optimum contact time was 30 minutes.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารดูดซับen_US
dc.subjectทองแดงen_US
dc.subjectน้ำเสียen_US
dc.subjectSorbentsen_US
dc.subjectCopperen_US
dc.subjectSewageen_US
dc.titleการใช้สารดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังสำหรับการกำจัดทองแดงจากน้ำเสียสังเคราะห์en_US
dc.title.alternativeUsing adsorbent from cassava peel for copper removal from synthetic wastewateren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOrathai.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruangsak_su_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.1 MBAdobe PDFView/Open
Ruangsak_su_ch1_p.pdfบทที่ 1737.38 kBAdobe PDFView/Open
Ruangsak_su_ch2_p.pdfบทที่ 22.93 MBAdobe PDFView/Open
Ruangsak_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.49 MBAdobe PDFView/Open
Ruangsak_su_ch4_p.pdfบทที่ 43.25 MBAdobe PDFView/Open
Ruangsak_su_ch5_p.pdfบทที่ 5670.11 kBAdobe PDFView/Open
Ruangsak_su_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.