Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67108
Title: การนำค่าโมดูลัสคืนตัวของดินลูกรังผสมซีเมนต์ มาใช้ในการออกแบบชั้นพื้นทางถนนชนิดยืดหยุ่น
Other Titles: Design of flexible pavement base courses using values of the resilient modulus of lateritic soil-cement
Authors: นิพนธ์ ตั้งติรวัฒน์
Advisors: ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ถนน -- การออกแบบและการสร้าง
ดินลูกรัง
วัสดุการทาง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบหาค่าโมดูลัสคืนตัวของวัสดุดินลูกรังผสมปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบเชิงวิเคราะห์ของโครงสร้างถนนชนิดยืดหยุ่นที่มีชั้นพื้นทางเป็นวัสดุดินลูกรังผสมปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ โดยจะคำนึงถึงความสามารถในการรับนํ้าหนักบรรทุกกระทำซํ้าของโครงสร้างทางเป็นหลัก ตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประกอบด้วยส่วนผสมของดินลูกรังผสมซีเมนต์ 3 ประเภทคือกลุ่มดิน A-2-4 กลุ่มดิน A-2-6 และกลุ่มดิน A-1-a ซึ่งผสมด้วยซีเมนต์ปริมาณร้อยละ 4.5 ร้อยละ 6.6และร้อยละ 2.0 ของนํ้าหนักดิน ตามลำดับ ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวเมื่อทำการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน จะมีค่ากำลังรับแรงอัดประมาณ 250 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ที่อายุบ่ม 7 วัน หลังจากนั้นได้ทำการทดสอบการรับแรงอัดกระทำซํ้าเพื่อหาค่าโมดูลัสคืนตัวโดยใช้ส่วนผสมดังกล่าวซึ่งมีอายุบ่ม 28 วันจากผลการทดสอบพบว่าค่าเฉลี่ยโมดูลัสคืนตัวของดินลูกรังผสมซีเมนต์จากส่วนผสมของดินกลุ่ม A-2-4 มีค่า 985.08 MPa ดินกลุ่ม A-2-6 มีค่า 973.55 MPa และดินกลุ่ม A-1-a มีค่า 3096.74 MPa จากการศึกษาพบว่าค่าโมดูลัสคืนตัวของดินลูกรังผสมซีเมนต์จะมีค่าแปรผันต่างกันไป เมื่อดินที่ใช้ในส่วนผสมมีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมค่ากำลังรับแรงอัดให้มีค่าใกล้เคียงกันก็ตาม โดยผลจากการทดสอบหาค่าโมดูลัสคืนตัวของดินลูกรังผสมซีเมนต์Iด้นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เครงสร้างทางด้วยโปรแกรม KEN LAYER ซึ่งผลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถสรุปเป็นกราฟเพื่อใช้ในการออกแบบโครงสร้างถนนชนิดยืดหยุ่นที่มีชั้นพื้นทางเป็นวัสดุดินลูกรังผสมซีเมนต์ ทั้งนี้ กราฟเพื่อใช้ในการออกแบบที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้การออกแบบโครงสร้างถนนตังกล่าวสามารถทำได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: This thesis investigates the values of resilient modulus of lateritic soil treated with Portland cement which to be corporated into the analytical design of flexible pavement’s base course involving repetition loadings. Three types of the lateritic soil: A-2-4, A-2-6 and A-1-a with cement contents of 4.5, 6.6 and 2.0 percent by weight of soil are used in the research respectively. They are compacted by the Modified Proctor Method to achieve an unconfined compressive strength of about 250 psi. after curing for 7 days. Afterward, repeated loading on sample of 28 days curing time are conducted to find the resilient modulus. The results show that, the average values of resilient modulus of lateritic treated with cement are for type: A-2-4 is 985.08 MPa, A-2-6 is 973.55 MPa, and A-1-a is 3096.74 MPa respectively. The values of resilient modulus of lateritic treated with cement depends on several factors, amongst them different mixture albeit control of compressive strength. The values of resilient modulus are used in the KENLAYER program, thus results are shown by various graphs which can be incorporated into the design of flexible pavement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67108
ISBN: 9743465022
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipon_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ843.11 kBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_ch1_p.pdfบทที่ 1675.06 kBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_ch2_p.pdfบทที่ 22.3 MBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_ch3_p.pdfบทที่ 3910.88 kBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_ch4_p.pdfบทที่ 41.06 MBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.34 MBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_ch6_p.pdfบทที่ 6707.12 kBAdobe PDFView/Open
Nipon_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.