Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67192
Title: กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ละครเพื่อพัฒนาวิถีประชาธิปไตยของเยาวชน
Other Titles: The learning processes of youth through the creation of dramatic activities for developing democracy ways
Authors: กุสุมา เทพรักษ์
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ubonwan.H@Chula.ac.th
Jirayudh.S@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
เยาวชน
ประชาธิปไตย
การพัฒนาประชาธิปไตย
Learning
Youth
Democracy
Democratization
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัย ในกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ละครเพื่อพัฒนาวิถีประชาธิปไตยของเยาวชน และ 2.เพื่อนำเสนอรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ละครเพื่อพัฒนาวิถีประชาธิปไตยของเยาวชน โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสะท้อนตนเอง จากกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนอายุ 16-25 ปี ที่มีการสร้างสรรค์ละครภายใต้อำนาจ 3 ลักษณะ คือ 1)กลุ่มละครภายใต้อำนาจแนวดิ่ง จากโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร 2)กลุ่มละครภายใต้อำนาจแนวราบ จากชมรมศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยทางภาคเหนือ และ 3)กลุ่มละครภายใต้อำนาจแนวผสมผสาน จากกลุ่มละครอิสระ ทางภาคใต้ ที่มีการผสานความร่วมมือกับกลุ่มละครภายนอก เพื่อหาสภาพ ปัญหาและปัจจัยในกระบวนการเรียนรู้ จากนั้นนำเสนอร่างรูปแบบผ่านการสนทนากลุ่มและการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อสรุปเป็นรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยผ่านการสร้างสรรค์ละครเริ่มจากความรู้ สู่จิตใจ ไปพฤติกรรม ผ่านขั้นตอนการสร้างสรรค์ละคร 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมงาน ขั้นการแสดง และขั้นประเมินผล 1.1 สภาพการเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ละครสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนว Constructivism โดยมีสภาพการเรียนรู้ที่แตกต่างกันตามการบริหารอำนาจภายในกลุ่ม แต่มีจุดร่วมใน 5 ขั้นคือ 1)ขั้นนำ เน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยเฉพาะในขั้นเตรียมงานจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา 2)ขั้นทบทวนความรู้เดิม ดึงความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบมาใช้ 3)ขั้นปรับเปลี่ยนแนวคิด ที่เด่นชัดคือกลุ่มละครในชมรมและกลุ่มละครอิสระ เน้นการมีจิตสาธารณะ 4)ขั้นนำไปใช้ เน้นความสามัคคี นำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างประนีประนอม ฟังกัน เข้าใจและให้เกียรติกันมากขึ้น 5)ขั้นทบทวน เน้นผนึกและซึมลึกคุณค่าในตนเอง(Self Esteem)และทบทวนองค์ความรู้ผ่านการประเมินผลหลากรูปแบบ 1.2 ปัญหาการเรียนรู้ คือทุนการเรียนรู้ที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ ความรู้ เทคโนโลยี ส่งผลต่ออำนาจการบริหารจัดการและการเข้าถึงทรัพยากร และทำให้การเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยแตกต่างกัน 1.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ประกอบด้วยโครงสร้างอำนาจและฐานความคิดของปัจเจก ผนวกกับพื้นที่และเทคโนโลยีในการเรียนรู้ 2.รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ละครเพื่อพัฒนาวิถีประชาธิปไตยของเยาวชนแบบพลัสพลัส (PLUS+) ซึ่ง P หมายถึง การฝึกฝน ปฏิบัติ (Practice) เยาวชนในกลุ่มละครที่ใช้อำนาจแนวดิ่งควรฝึกปฏิบัติเรื่องมีส่วนร่วม ฝึกการแสดงออกทางความคิดเห็นและการฟังอย่างเคารพและให้เกียรติ ฝึกปฏิบัติด้วยการลงมือทำผ่านกระบวนการกลุ่มในการสร้างสรรค์ละคร ส่วนเยาวชนในกลุ่มละครที่ใช้อำนาจแนวราบควรฝึกปฏิบัติเรื่องการมีระยะห่างแห่งสุนทรีย์ เพราะความสนิทสนมกันมากเกินไปอาจนำไปสู่ความเคยชินในการใช้อำนาจได้ ทั้งนี้ทุกกลุ่มควรฝึกฝนเรื่องการประเมินผลในบรรยากาศที่ดี เพื่อเอื้อต่อการมีส่วนร่วมและการดำรงอยู่ของกลุ่ม L หมายถึง การเรียนรู้วิถีประชาธิปไตย โดยสิ่งแรกที่เยาวชนควรเรียนรู้คือการมีคุณธรรมเรื่องการซื่อตรงและรับผิดชอบต่อหน้าที่มากกว่าการซื่อสัตย์ต่อพวกพ้อง และเมื่อเยาวชนร่วมทำงานกับเพื่อน ควรเรียนรู้เรื่องการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล และนำไปสู่การมีจิตสาธารณะ รับผิดชอบและใส่ใจในกิจการของส่วนรวมและสาธารณะ us หมายถึงเป้าหมายของการเรียนรู้คือการอยู่ร่วมกันได้อย่างแตกต่างหลากหลายในสังคมเดียวกัน และ + คือ พลัส (plus) หมายถึง การบริหารอำนาจแบบผสมผสาน กลุ่มละครที่ใช้อำนาจแนวดิ่งควรเรียนรู้ในการเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจและลงมือทำให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มการบริหารอำนาจแบบแนวราบและก่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่วนกลุ่มละครที่ใช้อำนาจแนวราบ ควรเรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำให้มากขึ้น อาทิ การมีผู้นำในการตัดสินใจ ทำงาน ประสานงาน และขับเคลื่อนกลุ่ม เพื่อดำเนินงานได้ตามเวลาที่กำหนด ส่วนการบริหารอำนาจแบบผสมผสาน ควรเรียนรู้การบริหารอำนาจแบบมีดุลยภาพ โดยการสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์(Identity)ของกลุ่มก่อนการผสานอำนาจจากภายนอก
Other Abstract: The objectives of this research are 1) to study the learning processes of youth through the creation of dramatic activites for developing democracy ways, and 2) to propose a model of learning styles for youth . The quantitative research method was data collection: surveys, interviews, participant observation, non-participant observation, and self-reflection. The participants were youth are 16-25 who created a drama production through 3 types of democratic powers: 1) Vertical Democratic Power.2)Horizontal Democratic Power.and 3) Mixed Democratic Power, in order to find the problems and factors that effect the learning process. Afterward, the initial findings were presented to a group discussion, then to a seminar of speicalists in all relevant areas, before formulating the model of learning styles. The results can be summarized as follows: 1.The learning process has 3 steps are involved: 1) Pre-Production, 2) Production, and 3) Evaluation; 1.1 Learning through the creation of drama activities conforms to the theory of Constructivism. There are five steps that all types have in common: 1)An Orientation Stage : the emphasize is on youth participation, or group engagement especially during the pre-production.2)An Elicitation of Prior Knowledge Stage:The prior knowledge of roles and responsibilities are retrieved and applied to the democratic ways. 3)An Idea Restructure Stage: the independent theatre group are obviously dominant at this stage, both emphasizing the issue of altruism. 4)An Application of Ideas Stage: focus on teamwork, which leads to compromising, accepting others’ points of view, understanding, and respecting one another. 5)A Review Stage: this stage intensely emphasizes self-esteem and a review of the entire body of knowledge through various evaluations. 1.2 Learning Problems arise when participants do not have the same knowledge or technological background. 1.3 Factors affecting learning include the democratic power structure, individual thought, and technological background. 2.The model of this learning is presented as PLUS+ (PLUS PLUS), in which P stands for Practice: the youth theatre group using vertical democratic power should practice participation and engagement by expressing ideas, mutual respect, and listening to others. On the other hand, the horizontal democratic power group should practice giving each other space, avoid getting too close, and taking other members for granted, in order to exercise more vertical power. Furthermore, every group should practice giving feedback in a safe environment to enhance group participation and maintain strong relationships within the group. L stands for learning about democracy ways: youth should learn about the moral values of honesty and responsibility and learn to have sympathy to create good interpersonal relationships.US means the goal of learning to work together and accepting differences among people in society. + (PLUS) is defined as a mixed democratic power.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67192
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.172
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.172
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kusuma_te_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch1_p.pdfบทที่ 11.27 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch2_p.pdfบทที่ 26.01 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch3_p.pdfบทที่ 31.2 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch4_p.pdfบทที่ 42.34 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch5_p.pdfบทที่ 56.9 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch6_p.pdfบทที่ 63.45 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_ch7_p.pdfบทที่ 72.98 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_te_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.