Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/672
Title: นโยบายหาเสียงแนวประชานิยมกับอำนาจทางเศรษฐกิจ : การศึกษาเชิงเศรษฐกิจการเมืองเกี่ยวกับความสำเร็จในการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย
Other Titles: Populist policy platform and economic power : the poltiical economy of Thai Rak Thai Party's election success
Authors: บูฆอรี ยีหมะ, 2512-
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: พรรคไทยรักไทย
พรรคการเมือง--ไทย
ประชานิยม--ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงเงื่อนไขหรือปัจจัยที่ส่งผลทำให้พรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหม่มีอายุก่อตั้งไม่ถึง 3 ปี แต่กลับประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จในการเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยมาจากปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันระหว่างบริบทเชิงโครงสร้างในขณะนั้นกับการดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองของพรรคกล่าวคือ การเลือกตั้งในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้บริบทเชิงโครงสร้างที่สังคมไทยยังคงตกอยู่ในสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 บริบทเชิงโครงสร้างเช่นนี้ทำให้พรรคไทยรักไทยเลือกดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองแบบประชานิยม (populism) โดยใช้หลัก 3 ประสาน คือ 1. "ชู พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคเป็นจุดขาย" โดยเสนอตัวให้ประชาชนเป็นว่าเป็นเพียงผู้เดียวที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการเข้ามาแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเพราะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมจนมีชื่อเสียงติดอันดับโลก 2. "ใช้นโยบายหาเสียงแนวประชานิยมสร้างจุดเด่น" ชี้ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นถึงความแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นว่านโยบายของพรรคเท่านั้นที่สามารถแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ และ 3. "เน้นอดีต ส.ส. เป็นจุดเสริม" โดยพรรคเลือกอดีต ส.ส. ที่ย้ายมาจากพรรคการเมืองอื่นเป็นผู้สมัครรัรบเลือกตั้งของพรรค อดีต ส.ส. เหล่านี้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ ความสามารถของหัวหน้าพรรค และความโดดเด่นของนโยบายพรรคในพื้นที่เลือกตั้ง
Other Abstract: The purpose of this dissertation is to study why Thai Rak Thai-a new born party won a landslide victory in the 2001 election. It is found that Thai Rak Thai Party's electoral success resulted mainly from the nexus between structural contexts and the party's political strategies. The plight of Thai society after the 1997 economic crisis provided a good opportunity for Thai Rak Thai Party to exploit the structural circumstances for its political advantages. To maximize votes the party applied three main strategies-the presentation of Thaksin Shinawatra, its' leader as the savior of the country; the intensive campaign of populist platform; and the extensive recruitment of its electoral candidates from other parties' veteran politicians.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/672
ISBN: 9741758898
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bukhoree.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.