Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67404
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต จากชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน ที่มีกิจกรรมกลุ่มร่วมมือที่แตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of learning achievement of prathom suksa three students in learning life experiences area from the learning center instructional packages with different cooperative group learning activities
Authors: ธิดารัตน์ ใบสูงเนิน
Advisors: สมเชาว์ เนตรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somchaw.n@chula.ac.th
Subjects: การสอนด้วยสื่อ
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Teaching -- Aids and devices
Group work in education
Academic achievement
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนที่มีกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการต่อภาพ กับ เทคนิคแบบกลุ่มสืบสอบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลชุมชนวัดธรรมจักร (ท.4) เทศบาลนครพิษณุโลก สังกัดสำนักงานการศึกษาท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวน 36 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 6 คน ที่เรียนด้วยเทคนิคการต่อภาพ 3 กลุ่ม กับ ที่เรียนด้วยเทคนิคแบบกลุ่มสืบสอบ 3 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนที่มีกิจกรรมกลุ่มร่วมมือในกลุ่มสร้างเสรีมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่ผู้วิจัยสร้างชั้น จำนวน 3 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างชั้น โดยเป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ t - test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนที่มีกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบกลุ่มสืบสอบมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนที่มีกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิคการต่อภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระตับ .05
Other Abstract: This research purpose was to compare the learning achievement in learning life experience, the topic was natural envircnment by using the learning center instructional package with cooperative group between the cooperative learning by Jigsaw technique and investigating technique. The subjects were 36 students in Prathom Suksa 3 in Dhammajakara Community School under Jurisdiction Pitsanulok Metropolitan Administration, students were devided into 6 small groups each one consisted of 6 students, those 3 groups studied by Jigsaw technique and other 3 group studied by investigating technique. The instruments were 1) 3 learning center instructional packages with the cooperative group learning activities in learning life experiences of Prathom Suksa 3, the topic was in natural environment created by the researcher. 2) The learning achievement test created by the researcher those were objective test had 30 items in multiple choice type, The data analysis used by Mean, S.D. and t - test. The research finding shows that the group of students studied by using the center instructional package that have cooperative group activity in investigating technique had higher mean score than the group of students studied by using the center instructional package that have cooperative group in Jigsaw technique at .05 significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67404
ISSN: 9741306334
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidarat_ba_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ776.26 kBAdobe PDFView/Open
Thidarat_ba_ch1_p.pdfบทที่ 1806 kBAdobe PDFView/Open
Thidarat_ba_ch2_p.pdfบทที่ 22.02 MBAdobe PDFView/Open
Thidarat_ba_ch3_p.pdfบทที่ 3970.28 kBAdobe PDFView/Open
Thidarat_ba_ch4_p.pdfบทที่ 4662.7 kBAdobe PDFView/Open
Thidarat_ba_ch5_p.pdfบทที่ 5689.43 kBAdobe PDFView/Open
Thidarat_ba_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.