Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67438
Title: พอลิเมอร์ผสมที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากแอลดีพีอี/พีอีแว๊กซ์/แป้งมันสำปะหลัง
Other Titles: Biodegradable polymer blends from LDPE/PE wax/cassava starch
Authors: วัชรพัฐ สุหร่าย
Advisors: เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์
วิมลวรรณ พิมพ์พันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Saowaroj.C@Chula.ac.th
Vimolvan.P@Chula.ac.th
Subjects: โพลิเมอร์
โพลิเมอร์ชีวภาพ
โพลิเอทิลีน
แป้งมันสำปะหลัง
Biopolymers
Polymers
Polyethylene
Tapioca starch
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การเตรียมพอลิเมอร์ผสมที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพจาก แอลดีพีอี พีอีแว็กซ์ และแป้งมันสำปะหลัง โดยใช้อัตราส่วนของแอลดีพีอี/พีอีแว็กซ์เป็น 100/0 80/20 และ 50/50 และปริมาณแป้งมันสำปะหลังแต่ละส่วนผสมเป็น 0 20 50 80 และ100 ส่วนต่อพอลิเมอร์ผสม 100 ส่วน (phr) จากนั้นทำส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยเครื่องอัดรีดชนิดเกลียวคู่แล้วนำม็ดพอลิเมอร์ ผสมที่ผ่านการอัดรีดไปขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ จากการศึกษาผลของพีอีแว็กซ์ และแป้งมันสําปะหลังต่อสมบัติเชิงกล พฤติกรรมทางความร้อน สัณฐานวิทยา การดูดซึมความชื้น และความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของพอลิเมอร์ผสมพบว่า การเติมพีอีแว็กซ์มีผลทําให้ค่าความต้านแรงดึงและความต้านแรงดัดโค้งของพอลิเมอร์ผสมมีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่การยืดตัว ณ จุดขาด และความด้านแรงกระแทก ลดลงเมื่อปริมาณแป้งมันสําปะหลังเพิ่มขึ้น พบว่าทําให้มีค่าความแข็งตึงของชิ้นทดสอบเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ค่าความต้านแรงดึง ความต้านแรงดัดโค้ง การยืดตัว ณ จุดขาด และความต้านแรงกระแทก ลดลงมีค่าลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าแอลดีพีอีพีอีแว็กซ์ในอัตราส่วน 50/50 มีค่าความต้านแรงดึงและความ ต้านแรงดัดโค้งสูงกว่าอัตราส่วนอื่น จาก DSC เทอร์โทแกรม แสดงให้เห็นว่า การเติมพีอีแว็กซ์ และแป้งมันสำปะหลังมีผลต่อพฤติกรรมทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมน้อยมาก แต่ส่งผลให้การดูดซึมความชื้น และความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
Other Abstract: The aim of this research was to prepare biodegradable polymer blends from LDPE, PE wax and cassava starch. Various ratios of LDPE/PE wax in the blends were 100/0, 80/20 and 50/50. Each blend was mixed with cassava starch at the amount of 0, 20, 50, 80 and 100 parts per hundred of the blend. All the components were homogenized by twin screw extruder. Pelletized LDPE/PE wax/starch extrudates were then formed into test specimens by injection molding machine. The effects of PE wax and cassava starch on the mechanical properties, thermal behaviors, morphology, moisture absorption, and biodegradability of blends were investigated. The results revealed that adding PE wax substantially improved the tensile strength and bending strength while elongation at break and impact strength decreased. Increasing cassava starch substantially improved the stiffness but decreased tensile strength, bending strength, elongation at break, and impact strength. It was found that polymer blend prepared from LDPE/PE wax at the ratio of 50/50 exhibited tensile strength and bending strength than those prepared at other ratio. While adding PE wax and cassava starch insignificantly affected themal behaviors, it significantly improved water absorption and biodegradation of polymer blends.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67438
ISBN: 9741432682
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharapat_su_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1 MBAdobe PDFView/Open
Watcharapat_su_ch1_p.pdfบทที่ 1668.66 kBAdobe PDFView/Open
Watcharapat_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.37 MBAdobe PDFView/Open
Watcharapat_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.5 MBAdobe PDFView/Open
Watcharapat_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.63 MBAdobe PDFView/Open
Watcharapat_su_ch5_p.pdfบทที่ 5649.08 kBAdobe PDFView/Open
Watcharapat_su_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.