Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์-
dc.contributor.advisorปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล-
dc.contributor.authorสิริพร รุจิรวนิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-08-19T04:03:25Z-
dc.date.available2020-08-19T04:03:25Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.issn9745326852-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67592-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสารที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นกาวยึดฟันปลอมในรูปแบบเจล โดยศึกษาคุณสมบัติการไหลแผ่และการยึดติดของกาวยึดฟันปลอมที่ทดลองผลิต เปรียบเทียบกับกาวยึดฟัน ปลอมที่มีวางขายในท้องตลาดทั้งรูปแบบเพสท์ (พอลิเดนท์ และ ฟิตติเดนท์) และรูปแบบผง (เดนท์สเตท) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการไหลแผ่ต่อการยึดติดของกาวยึดฟันปลอมที่ทดลองผลิต โดยกาวยึดฟัน ปลอมที่ทดลองผลิตเตรียมจากสารเคมีในกลุ่มพอลิแซคคาไรด์ 9 ชนิด ดังนี้ ทรากาแคนท์, คาร์บอกซีเมทิล เซลลูโลส, กัวกัม, ไฮดอกซีเอทิลเซลลูโลส, กลูโคมาแนน, นิวทรัลไลซ์คาร์บอพอล, แซนแทน,ไฮดรอกซี โพรพิลเมทิลเซลลูโลส, แป้งพรีเจลลาทีไนซ์ แต่ละชนิดเตรียมให้มีความเข้มข้นต่าง ๆ เมื่อเตรียมสารให้อยู่ใน รูปแบบเจลแล้ว พบว่ากาวยึดฟันปลอมที่ทดลองผลิตทุกชนิด เมื่อความเข้มข้นมากขึ้น จะมีความหนืดมากขึ้น เมื่อนำมาทดสอบการไหลแผ่ พบว่าพื้นที่การไหลแผ่ ได้รับอิทธิพลจากความเข้มข้น เวลา และน้ำหนักกด โดย ที่เมื่อความเข้มข้นมากขึ้น พื้นที่การไหลแผ่จะน้อยลง แต่พื้นที่การไหลแผ่จะเพิ่มขึ้นตามเวลา และน้ำหนักกด เมื่อเปรียบเทียบกับกาวชนิดเพสท์ พบว่าแชนแทน 9, 9.5 และ 10%, กัวกัม 5 และ 5.5%, นิวทรัลไลซ์คาร์ บอพอล 4.5% และ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 5, 5.5 และ 6% มีพื้นที่การไหลแผ่มากกว่าฟิตติเดนท์อย่าง มีนัยสำคัญ ที่ระดับความชื่อมั่น 95% เมื่อทดสอบแรงยึดติดของกาวยึดฟันปลอมที่ทดลองผลิต พบว่าทุกชนิด เมื่อความเข้มข้นเพิ่มขึ้น จะมีค่าแรงยึดติดมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกาวที่มีวางขายในท้องตลาด พบว่าทรา กาแคนท์ 13, 14 และ15%, คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 5.5 และ 6% และ กัวกัม 5.5% มีค่าเฉลี่ยแรงยึด ติดมากกว่าฟิตติเดนท์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยที่แรงยึดติดจะมีความสัมพันธ์ในทิศ ทางตรงข้ามกับพื้นที่การไหลแผ่ คือในสารชนิดเดียวกัน เมื่อแรงยึดติดมากขึ้น พื้นที่การไหลแผ่จะน้อยลง สาร ที่การไหลแผ่มีความสัมพันธ์กับแรงยึดติดในทิศทางตรงข้ามมากที่สุดคือ นิวทรัลไลซ์คาร์บอพอล เมื่อทดสอบ แรงยึดติดเปรียบเทียบระหว่างวิธีการใช้ต่างกัน พบว่าแรงยึดติดที่ได้จาการบีบกาวเป็นจุด 4 จุด การบีบเป็น แนว และการป้ายทั่วพื้นผิวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จากการศึกษา พบว่าสารที่มีความเหมาะสมทั้งด้านความหนืด การไหลแผ่ และแรงยึดติด เพื่อนำไป พัฒนาในชั้นต่อไป มี 4 กลุ่มคือ ทรากาแคนท์ 14%. คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 5%, กัวกัม 5% และนิวทรัลไลซ์คาร์บอพอล3.5%-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to determine which materials that were suitable for develop denture adhesive gels by study the flow and retentive properties of experimental denture adhesives compare with three brands of commercial denture adhesive in form of paste (Polident, Fittydent), and powder (Dent-stet). The experimental adhesive gels were prepared from 9 polysaccharides at various concentrations: Tragacanth, Carboxymethylcellulose, Guar gum, Hydroxyethylcellulose, Glucomannan, Neutralized,carbopol,Xanthan, Hydroxypropylmethylcellulose and Pregel alpha starch. The experiment showed that the viscosity of each material is concentration dependent. Flow area of experimental denture adhesives decreased with higher concentration and increased with time and weight applied. When compared with commercial adhesives, the flow area of Xanthan 9, 9.5 and 10%, Guar gum 5 and 5.5%, Neutralized carbopol 4.5% and Carboxymethylcellulose 5, 5.5 and 6% was significantly greater than Fittydent (p<0.05). Test of the retentive force of experimental adhesives showed that the retentive forces of all materials increased with concentration. It was found that the retentive force of tragacant 13, 14 and 15%, Carboxymethylcellusoe 5.5 and 6% and Guar gum 5.5% was significantly greater than Fittydent (p<0.05), In term of relationship of flow and retentive properties, it was suggested that in higher concentration of all materials, retentive force was increased but the flow area was decreased. The final part was to compare the retention between application techniques, It was found that there is no significant difference between techniques. (p<0.05) Within the limitation of this study, the data suggested that the suitable materials in term of viscosity, flow and retention can be categorized into four groups: tragacanth 14%, carboxymethyicellulose 5 % guar gum 5 % and Neutralized carbopol 3.5%-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารยึดติดทางทันตกรรมen_US
dc.subjectฟันปลอมen_US
dc.subjectกาวen_US
dc.subjectการไหลแบบหนืดen_US
dc.subjectDental adhesivesen_US
dc.subjectDenturesen_US
dc.subjectGlueen_US
dc.subjectViscous flowen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการไหลแผ่ต่อการยึดติดของกาวยึดฟันปลอมที่ทดลองผลิตen_US
dc.title.alternativeRelationship between flow and retention of experimental denture adhesivesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchairat.w@chula.ac.th-
dc.email.authorPiyawat.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siripron_ru_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.09 MBAdobe PDFView/Open
Siripron_ru_ch1_p.pdfบทที่ 1849.82 kBAdobe PDFView/Open
Siripron_ru_ch2_p.pdfบทที่ 22.21 MBAdobe PDFView/Open
Siripron_ru_ch3_p.pdfบทที่ 31.41 MBAdobe PDFView/Open
Siripron_ru_ch4_p.pdfบทที่ 43.35 MBAdobe PDFView/Open
Siripron_ru_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Siripron_ru_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.