Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6765
Title: ปัจจัยทางสังคม-จิตวิทยา และลักษณะทางประชากรที่เกี่ยวข้องกับชาตินิยมของผู้บริโภค
Other Titles: Social-pychological and demographic factors related to consumer nationalism
Authors: กรรณิการ์ นุ่มไทย
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: ชาตินิยม
ผู้บริโภค
จิตวิทยาสังคม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับชาตินิยมของผู้บริโภคซึ่งได้แก่ ปัจจัยทางสังคม-จิตวิทยา (การเปิดกว้างทางวัฒนธรรม ความรักชาติ อนุรักษ์นิยม และคติรวมหมู่) และปัจจัยลักษณะทางประชากร (อายุ เพศ ระดับการศึกษา และรายได้) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปี ประกอบด้วยชาย 300 คน และหญิง 300 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดกว้างทางวัฒนธรรมไม่มีสหสัมพันธ์กับชาตินิยมของผู้บริโภค 2. ความรักชาติ อนุรักษนิยม และคติรวมหมู่ ล้วนมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับชาตินิยมของผู้บริโภค (p<.001) 3. การเปิดกว้างทางวัฒนธรรม ความรักชาติ อนุรักษนิยม และคติรวมหมู่ สามารถอธิบายความแปรปรวนของชาตินิยมของผู้บริโภคได้ 24% (p<.001) โดยความรักชาติและอนุรักษนิยมมีน้ำหนักในการทำนายชาตินิยมของผู้บริโภคได้ (p<.001) 4. การเปิดกว้างทางวัฒนธรรม ความรักชาติ อนุรักษนิยม คติรวมหมู่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของชาตินิยมของผู้บริโภคได้ 27% (p<.001) โดยความรักชาติ อนุรักษนิยม และอายุ มีน้ำหนักในการทำนายชาตินิยมของผู้บริโภคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนระดับการศึกษาและรายได้ มีน้ำหนักในการทำนายชาตินิยมของผู้บริโภคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. อายุมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับชาตินิยมของผู้บริโภค (p<.001) 6. ผู้บริโภคเพศหญิงมีชาตินิยมของผู้บริโภคต่ำกว่าผู้บริโภคเพศชาย (p<.05) 7. ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีชาตินิยมของผู้บริโภคแตกต่างกัน (p<.01) โดยผู้บริโภคที่มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีชาตินิยมของผู้บริโภคสูงกว่าผู้บริโภคที่มีการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป (p<.05) 8. ผู้บริโภคที่มีรายได้แตกต่างกันมีชาตินิยมของผู้บริโภคไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: To study the relationships among social-psychological factors (cultural openness, patriotism, conservatism, and collectivism), demographic factors (age, gender, educational level, and income) and consumer nationalism. The sample consisted of 300 male consumers and 300 female consumers between 20-59 years of age. Results show that 1. Cultural openness does not correlate with consumer nationalism. 2. Patriotism, conservatism, and collectivism have significant positive correlations with consumer nationalism (p<.001). 3. Cultural openness, patriotism, conservatism, and collectivism can significantly predict consumer nationalism (R[superscript 2] = .24, p<.001). Patriotism and conservatism have significant standardized coefficients (p<.001). 4. Cultural openness, patriotism, conservatism, collectivism, age, gender, educational level, and income can significantly predict consumer nationalism (R[superscript 2] = .27, p<.001). Patriotism, conservatism, and age have significant standardized coefficients (p<.001). Educational level and income have significant standardized coefficients (<.05). 5. Age has significant positive correlation with consumer nationalism (p<.001). 6. Female consumers have lesser consumer nationalism scores than male consumer (p<.05). 7. Consumers with various educational levels differ in consumer nationalism (p<.01). Consumers in lower bachelor degree educational level have greater consumer nationalism scores than consumers in master degree educational level or above (p<.05). 8. Consumers with various income levels do not differ among groups in consumer nationalism.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6765
ISBN: 9741428987
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannikar.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.