Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67663
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุมาพร ตรังคสมบัติ-
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ รุ่มวิริยะพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-08-21T07:44:50Z-
dc.date.available2020-08-21T07:44:50Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743347127-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67663-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะ ในภาคการศึกษาแรก ปีการศึกษา 2542 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับผลการเรียนของนิสิต โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 767 คน ซึ่งถูกสุ่มด้วยวิธี Systematic Statified Sampling จากกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ และเทคโนโลยี มนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามการปรับตัว ของนิสิตต่อสถานศึกษา SACQ (The Student Adaptation to College Qusetionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ unpaired t-test, Analysis of variance (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ แบบ LSD-test การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC’ ผลการวิจัยพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2542 มี ความสามารถในการปรับตัวระดับปานกลาง ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการปรับตัวของนิสิตได้แก่เพศ ภูมิลำเนาเดิม สถานภาพครอบครัว และรายได้ต่อเดือนของนิสิต การวิเคราะห์การปรับตัวในแต่ละด้าน ได้ผล ดังนี้ การปรับตัวด้านการเรียนพบว่า กลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษามีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับตัวด้าน สังคมพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร อายุ รายได้ของครอบครัว และระดับการศึกษาของบิดามารดา มีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับตัวด้านอารมณ์-ส่วนบุคคลพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร อายุ กลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษา รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษาของบิดามารดา อาชีพของมารดาและสภาพที่อยู่อาศัยของนิสิตมีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับตัวด้านความรู้สึกต่อ สถานศึกษาและการปรับตัวรวมทุกด้าน พบว่า อายุ กลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษา รายได้ของครอบครัว และระดับการศึกษาของบิดามารดามีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับตัวในแต่ละด้านและการปรับ ตัวรวมทุกด้าน ยกเว้นด้านสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการเรียนเทอมแรกของนิสิต (GPAX) ในระดับ ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นว่า ปัจจัยต่อไปนี้ได้แก่ การเข้าร่วมกิจ กรรมนอกหลักสูตร อายุ กลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษา รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษาของบิดามารดา และสภาพที่อยู่อาศัย เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูล เหล่านี้เป็นประโยชน์ในการค้นหาและให้ความช่วยเหลือนิสิตที่อาจมีปัญหาการปรับตัวระหว่างการศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the adjustment ability of first-year students in every faculty at Chulalongkorn University during the academic of 1999. The study was also done to measure the correlation between adjustment ability academic performance. Using systematic stratified sampling, the subjects were 767 first year students from the fields of biological science, physical science and technology, humanities, and social sciences. The Student Adpatation to College Questionnaire (SACQ) was used measure adjustment of the subjects. All questionnaires were analyzed by SPSS/PC’ for percentage, means, standard deviation, unpaired t-test analysis of variance (ANOVA), and LSD-test. The result revealed that first-year students during the academic year of 1999 had moderate adjustment level. Gender, birth-place, family status, and personal expense were not related to adjustment ability. The fields of study were related to academic adjustment with statistical significance. Participating in extra-cumcular activities, age, family income and educational level of Parents were related to social adjustment with statistical sigruficance. Participating in extra-cumcular, activities, age, the fields of study, family income, educational level of parents. Occupation of the mother and residential were related to personal-emotional adjustment with statistical significance. Age, the fields of study, family income, educational level of parents were related to institutional Attachment and overall adjustment with statistical significance. Every category of adjustment ability Except social adjustment were positive correlated with first semester grads (GPAX) with statistical significance (p=0.01). In conclusion, this study revealed that various factors were related to the adjustment ability of the first-year students. Results can be applied to prevent adjustment problem in university students.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษาen_US
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)en_US
dc.titleการศึกษาการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภาคการศึกษาแรก ปีการศึกษา 2542en_US
dc.title.alternativeA study of the adjustment ability of first-year students at Chulalongkorn University during the first semester, 1999en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Julalak_ru_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ916.5 kBAdobe PDFView/Open
Julalak_ru_ch1_p.pdfบทที่ 1959.38 kBAdobe PDFView/Open
Julalak_ru_ch2_p.pdfบทที่ 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Julalak_ru_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Julalak_ru_ch4_p.pdfบทที่ 41.32 MBAdobe PDFView/Open
Julalak_ru_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Julalak_ru_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.