Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67737
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์-
dc.contributor.authorปรางทิพย์ ทาเสนาะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2020-08-27T06:59:27Z-
dc.date.available2020-08-27T06:59:27Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743343342-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67737-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสนอตัวแบบต่อการลดความวิตกกังวลในการคลอดของหญิงครรภ์แรก โดยมีสมมติฐานการวิจัยคือ 1. หญิงครรภ์แรกในกลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบจะมีความวิตกกังวลในการคลอดน้อยกว่าหญิงครรภ์แรกในกลุ่มควบคุม 2. หญิงครรภ์แรกในกลุ่มทดลองที่ดูตัวแบบจะมีความวิตกกังวลในการคลอดในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล ลดลงกว่าระยะก่อนการทดลอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์ในหน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ-ประสงค์ จ.อุบลราชธานี มีอายุระหว่าง 21-30 ปี อายุครรภ์ 28-34 สัปดาห์ จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากคะแนนความวิตกกังวลโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 38-45 คะแนน และสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับชมตัวแบบสัญลักษณ์ในรูปวิดีทัศน์ ทั้งหมด 5 เรื่องเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 เรื่อง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลจากพยาบาลวิชาชีพตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) วิดีทัศน์ จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลตนเองระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด 2) แบบวัดความรู้สึกในขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแปรปรวนร่วมสองทางแบบวัดซ้ำ (Two Way ANCOVA with Repeated Measure) และทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองด้วยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way ANOVA with Repeated Measure) ผลการวิจัยพบว่า 1. หญิงครรภ์แรกที่ดูตัวแบบมีคะแนนความวิตกกังวลในการคลอดน้อยกว่าหญิงครรภ์แรกที่ไม่ได้ดูตัวแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หญิงครรภ์แรกที่ดูตัวแบบมีคะแนนความวิตกกังวลในการคลอดในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผลลดลงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนความวิตกกังวลในการคลอดในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผลไม่มีความแตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effect of modeling on reducing delivery anxiety in first pregnancy. The hypothesis were as follows: 1. Women in first pregnancy in experimental group would have less anxiety than those in control group: 2. Women in first pregnancy in experimental group would have less anxiety y in posttest and follow up period than pretest period. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample was 40 first pregnancies, their ages are 21-30 years and gestation between 28-34 weeks select from first pregnancies who have Trait-Anxiety scores between 38-45 scores. Then 20 first pregnancies were randomly assigned to experimental group and control group. Five stories of video tape were shown to the experimental group for 5 weeks ( one story per week ). While the control group received the routine care procedure from registered nurse. The instrument used in this study was 1) Video tape containing content about self-care during pregnancy and delivery 2) State-Anxiety form Y. The two way ANCOVA with repeated measure and one way ANOVA with repeated measure were ultilized for data analysis. The result indicated that 1) Women in first pregnancy in the experimental group had less scores on State-Anxiety Inventory than those in the control group. 2) The posttest scores and follow up scores on State-Anxiety Inventory of the experimental group were lower than the pretest scores at .05 level of significance but there was no significant difference between the posttest and follow up scores.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความวิตกกังวล-
dc.subjectครรภ์-
dc.subjectสตรีมีครรภ์-
dc.titleผลของตัวแบบที่มีต่อการลดความวิตกกังวลในการคลอดของหญิงครรภ์แรก-
dc.title.alternativeThe effect of modeling on reducing delivery anxiety in women's first pregnancy-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตวิทยาพัฒนาการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prangthip_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ835.5 kBAdobe PDFView/Open
Prangthip_ta_ch1_p.pdfบทที่ 12.3 MBAdobe PDFView/Open
Prangthip_ta_ch2_p.pdfบทที่ 21.11 MBAdobe PDFView/Open
Prangthip_ta_ch3_p.pdfบทที่ 3785.05 kBAdobe PDFView/Open
Prangthip_ta_ch4_p.pdfบทที่ 4879.38 kBAdobe PDFView/Open
Prangthip_ta_ch5_p.pdfบทที่ 5756.6 kBAdobe PDFView/Open
Prangthip_ta_back_p.pdfบรรณานุกรมและบทคัดย่อ2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.