Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67932
Title: รูปแบบของการสื่อสารและการยอมรับบทบาทของสตรีมุสลิมในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามบ้านสุไหงปาแน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
Other Titles: The communication patterns and the acceptance of muslim women in management for islamic co-operation at Sungai-Panae village, Muang district, Pattani province
Authors: นาอีหม๊ะ นิฮะ
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th
Subjects: สตรีมุสลิม
การสื่อสาร
สหกรณ์ออมทรัพย์
Muslim women
Communication
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์ออม ทรัพย์อิสลามที่สตรีมุสลิมเป็นผู้บริหาร ศึกษาระดับการยอมรับบทบาทของสตรีมุสลิมด้านการบริหารจัด การสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามของสมาชิกในสังคมกลุ่มต่าง ๆ และศึกษาปัจจัยที่มีผลทำให้สมาชิกใน สังคมมุสลิมยอมรับบทบาทของสตรีมุสลิมในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม โดยนำแนวคิด ปรากฏการณ์นิยมมาใช้ในการศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามที่สตรีมุสลิมเป็นผู้บริหาร ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียวที่มีลักษณะเป็นทางการ การสื่อสารสองทางที่มีลักษณะเป็นทางการ และการสื่อสารสองทางที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ 2. ระดับการยอมรับบทบาทของสตรีมุสลิมด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม ของสมาชิกในสังคมกลุ่มต่าง ๆ จำแนกได้ 3 ระดับ คือ การยอมรับโดยดุษฎี การยอมรับอย่างมีเงื่อนไข และการไม่แสดงความเห็นแต่ไม่คัดค้าน 3. ปัจจัยที่มีผลทำให้สมาชิกในสังคมมุสลิมยอมรับบทบาทของสตรีมุสลิมในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ การที่คณะกรรมการบริหารเป็นผู้ที่มีอะมานะฮ์ การที่คณะกรรมการบริหารทุกคนมีอาชีพเป็นครู และการที่คณะกรรมการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม
Other Abstract: The purpose of this research was to study the communication patterns in Islamic co-operative management by Muslim, the public acceptance on muslim women role in Islamic co-[operative] management and the factors which influence the acceptance of the muslim women in Islamic co-operative management among muslim members. A qualitative research, with phenomenological approach, was implemented the in-depth interviewing and observation techniques were used to collected data. The results are as follows: 1. The main communication patterns in Islamic co-operative management of which muslim women are: 1) one-way communication which combine with formal communication; 2) two-way communication which combine with formal communication; and 3) two-way communication which combine with informal communication. 2. The levels of acceptance of muslim women in Islamic co-operative management are: 1) extreme acceptance; 2) acceptance with curtain conditions; and 3) no comment and no objection. 3. The factors which influence members in muslim society to accept the role of muslim women in managing the Islamic co-operation include: 1) everybody in management team has amanah; 2) everybody in management team is teacher; and 3) everybody in management team works for the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67932
ISBN: 9743317724
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naimah_ni_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ870.09 kBAdobe PDFView/Open
Naimah_ni_ch1_p.pdfบทที่ 1976.62 kBAdobe PDFView/Open
Naimah_ni_ch2_p.pdfบทที่ 22.6 MBAdobe PDFView/Open
Naimah_ni_ch3_p.pdfบทที่ 3818.31 kBAdobe PDFView/Open
Naimah_ni_ch4_p.pdfบทที่ 41.88 MBAdobe PDFView/Open
Naimah_ni_ch5_p.pdfบทที่ 51.86 MBAdobe PDFView/Open
Naimah_ni_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.