Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68007
Title: | การมีส่วนร่วมของเจ้าของห้องชุดในการบริหารทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาปานกลาง |
Other Titles: | Participation of unit owners in managing common asset of middle-income residential condominiums |
Authors: | กฤษณา ปานสุนทร |
Advisors: | ศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ห้องชุด อาคารชุด อาคารชุด (สำนักงาน) อาคารชุด -- การบริหาร Apartments Condominiums Condominium office buildings Condominiums -- Administration |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อาคารชุดถือเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่สำหรับคนไทย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการอยู่อาศัยหลายอย่าง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารทรัพย์ส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด และวิเคราะห์ถึงการมีส่วนร่วมของเจ้าของห้องชุดในการบริหารงาน ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด โดยเลือกศึกษา 5 โครงการ คือ ฟรีเมียร์, สายลม สยาม, แกรนด์วิลล์เฮาส์2 และปทุมวันเพลส คอนโดมิเนียม ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่สำคัญในการบริหารทรัพย์ส่วนกลาง คือนิติบุคคลอาคารชุดไม่สามารถเก็บเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางรายเดือนได้ครบ ทำให้มีปัญหาการเงินและกระทบต่อการวางแผนและดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ทั้งนี้สาเหตุหลัก คือเจ้าของห้องชุดไม่ให้ความร่วมมือทั้ง ๆ ที่ทราบบทบาทและหน้าที่ของตนเองตามข้อบังคับอาคารชุด อาทิ ไม่เข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วม และไม่จ่ายเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางรายเดือน นอกจากนี้แล้วยังพบโครงการที่ไม่มีเงินกองทุนซึ่งขัดกับหลักปฏิบัติของพระราชบัญญัติอาคารชุด 2522 และยังมีผลกระทบถึงการขาดการสำรองเงินไว้เพื่อดูแลทรัพย์ส่วนกลางในระยะยาวอีกด้วย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในการจัดซ่อมแซมบริหารทรัพย์ส่วนกลางที่เสื่อมสภาพในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เป็นผลที่เกิดจากเจ้าของห้องชุดส่วนหนึ่งยังไม่ปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ทำให้นิติบุคคลอาคารชุดมีปัญหาในการบริหารส่วนกลาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพรวมของปัญหาในตลาดอาคารชุดได้เป็นอย่างดี ส่วนแนวทางแก้ไข พบว่ากรณีที่มีเงินกองทุน เจ้าของห้องชุดส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้นำเงินกองทุนมาใช้ซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง ในกรณีที่ไม่มีเงินหรือเงินไม่พอ เจ้าของห้องชุดส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่จะจ่ายเงินเพิ่มหรือยอมให้มีการเรียกเก็บเงินกองทุนเพิ่มสำรองไว้อีก อย่างไรก็ตาม ควรจะมีวิธีและมาตรการต่าง ๆ ที่จะกระตุ้นให้ทั้งนิติบุคคลอาคารชุดและเจ้าของร่วม ตระหนักถึงปัญหาและส่วนร่วมในการบริหารอาคารชุดมากขึ้น |
Other Abstract: | Living in condominiums is considerably new for Thais; thus many problems ensue. The aims of this research were to study problems in managing common assets of condominium associations and analyse the participation of unit owners in the management process according to the Condominium Act. About 202 unit owners in five condominium projects including Premier, Sailom, Siam, Grandville House II and Pathumwan Place Condominium answered questionnaires and five condominium association managers were also interviewed. The research found that major problems in managing common asset of condominium associations were due to the inadequency of monthly fees that the association collected from the unit owners. This was because the unit owners did not give full cooperation despite realizing their role and responsibility. They did not attend the annual meeting. Or pay monthly fees and lack awareness of taking care of common assets. It also found three condominium associations never had sinking funds reserved for building maintenance. These implementations were against the existing condominium law and would certainly affect the maintenance of common asset and building in the long run. To solve these problems, the study suggested that participation of unit owners in the process of common asset management was the most important factor. In case the common asset was depreciated or out of order and the condominium had enough sinking fund, the majority of unit owners also agreed to use this money to maintain the common asset and entire building. If the condominium associations lacked money, the units owners also agreed to share additional expenses or raise sinking fund repair and maintenance purposes. As a result, there should be measures to encourage both condominium associations and unit owners to be more aware of these problems and participate more in managing common assets. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68007 |
ISBN: | 9743325662 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krissana_pa_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Krissana_pa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 827.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Krissana_pa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Krissana_pa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Krissana_pa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Krissana_pa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Krissana_pa_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.