Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68015
Title: การคัดแยกและลักษณะสมบัติของกลุ่มแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายน้ำมันหล่อลื่นจากน้ำเสียสถานีบริการน้ำมัน
Other Titles: Isolation and characterization of bacterial consortium capable of degrading lubricant oil from gas station wastewater
Authors: นฤมล นันทกิจโกศล
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
อรฤทัย ภิญญาคง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suthep.T@Chula.ac.th
Onruthai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำมันหล่อลื่น -- การย่อยสลาย
น้ำเสีย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้คัดแยกกลุ่มแบคทีเรีย เพื่อนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียสถานีบริการนํ้ามัน กลุ่ม แบคทีเรียคัดแยกได้จากน้ำเสียสถานีบริการน้ำมันสวนลุมพินี ให้ชื่อว่า กลุ่มแบคทีเรีย SL ประกอบด้วยแบคทีเรีย 4 ชนิด ได้แก่ SLY SL15 SL17 และ SL27 เมื่อจำแนกชนิดด้วยวิธีทาง สัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และวิเคราะห์ลำดับเบสของ 16 เอส ไรโบโซมัลดีเอ็นเอ พบว่าแบคทีเรีย ทั้งสี่เป็นแบคทีเรียในสกุล Sphingobium sp. Acinetobacter sp. Ochrobactrum sp. และ Alcaligenes sp. ตามลำดับ โดยที่กลุ่มแบคทีเรียนี้สามารถย่อยสลายน้ำมันหล่อลื่นได้คงเหลือ 34% เมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว CFMM ซึ่งมีความเข้มข้นน้ำมันเริ่มต้น 100 มก.ต่อลิตร ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 7 วัน สำหรับส่วนแซททูเรท และส่วนอะโรมาติก พบว่า สามารถย่อยสลายได้คงเหลือ 35 และ 32% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแบคทีเรียบริสุทธิ์พบว่าสามารถย่อยสลายน้ำมันและองค์ประกอบต่างๆ ได้เช่นกัน โดยแบคทีเรีย SLY ย่อยสลายได้ใกล้เคียงกับกลุ่มแบคทีเรียภาวะเหมาะสมในการย่อยสลายเมื่อทดสอบในน้ำเสียสังเคราะห์ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 7 วัน คือ ที่ปริมาณน้ำมัน 50 มก.ต่อลิตร ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด 10 มก.ต่อลิตร ปริมาณฟอสฟอรัส ทั้งหมด 1 มก.ต่อลิตร ความเป็นกรด-ด่าง 7.5 และ อุณหภูมิ 35°ซ หากเปรียบเทียบการย่อยสลายนํ้ามันของกลุ่มแบคทีเรีย SL และแบคทีเรีย SLY ที่ภาวะเหมาะสม พบว่ากลุ่มแบคทีเรีย SL ย่อยสลายนํ้ามันได้คงเหลือ 31% ในขณะที่แบคทีเรีย SLY ให้ผลการย่อยที่ลดลง เมื่อศึกษาการย่อยสลายนํ้ามันหล่อลื่นในนํ้าเสียจริงด้วยระบบจำลองแบบต่างๆ พบว่า เมื่อผ่านไป 7 วัน การเติมกลุ่มแบคทีเรีย SL ไม่ได้เพิ่มผลการย่อยให้ดีขึ้น แต่หากปรับภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมแล้วจะสามารถย่อยสลายนํ้ามันหล่อลื่นได้ดีกว่าการเติมกลุ่มแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ เมื่อติดตามพลวัตรประชากรของกลุ่มแบคทีเรีย SL พบว่า ประชากรภายในกลุ่มสามารถเจริญได้ตลอดระยะเวลาที่ทดลอง และเจริญได้ดีกว่าจุลินทรีย์ประจำถิ่นเมื่อเจริญในนํ้าเสียสถานีบริการนํ้ามัน
Other Abstract: The main objective of this study aims to isolate bacterial consortium capable of degrading lubricant oil in gas station wastewater. Consortium SL was isolated from Suan Lumpini gas station’s wastewater comprised of four bacteria SLY, SL15, SL17 and SL27. Base on their 16S rDNA sequences along with morphological and biochemical characteristics these strains were identified as members belongs to the genus of Sphingobium sp. Acinetobacter sp. Ochrobactrum sp. and Alcaligenes sp., respectively. As for their abilities เท the biodegradation of oil, when such consortium was incubated in synthetic oil/water emulsion at initial oil concentration of 100 mg/L for 7 days at room temperature, the oil level was reduced down to 34% while 35 and 32% were also observed in case of saturate and aromatic fractions. It was also found that strain SLY individually can also degraded lubricant oil as well as the other two fractions. The optimal condition for biodegradation were initial oil concentration of 50 mg/L, nitrogen content of 10 mg/L and phosphorus content of 1 mg/L at pH 7.5 and 35 °C. The consortium SL reduced lubricant oil at the optimal condition to 31% whereas strain SLY failed to enhance the effect. Microcosms experiment was carried out to study its degrading ability in gas station wastewater by adjusting initial oil concentration to 50 mg/L. After 7 days, the system supplemented with consortium SL showed higher degradation than natural attenuation. Result from DGGE revealed dynamic of bacterial population in this consortium and confirmed the present of consortium SL with more dominance than indigenous microorganisms throughout the entire period of study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68015
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumol_na_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_na_ch1_p.pdf687.32 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_na_ch2_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_na_ch3_p.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_na_ch4_p.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_na_ch5_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_na_back_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.