Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68127
Title: ผลของออกซีเททราซัยคลินและความเค็มต่อการขับถ่ายแอมโมเนีย และปริมาณตกค้างในเนื้อกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon
Other Titles: Effects of oxytetracycline and salinity on ammonia excretion and tissue residue of black tiger shrimp Penaeus monodon
Authors: คนึงนิตย์ ลิ่มจิรขจร
Advisors: สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somkiat.P@Chula.ac.th
Nittharatana.P@Chula.ac.th
Subjects: กุ้งกุลาดำ
ออกซีเททราซัยคลิน
ความเค็ม
แอมโมเนีย -- การขับถ่าย
Penaeus monodon
Oxytetracycline
Salinity
Ammonia -- Excretion
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของปริมาณยาปฏิชีวนะออกซีเททราชัยคลินและความเค็มต่อการขับถ่ายแอมโมเนียและปริมาณตกค้างในเนื้อกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon ระยะวัยรุ่น (น้ำหนัก 10-13 กรัม: อายุประมาณ 2-2.5 เดือนหลังจากลงเลี้ยงในบ่อดิน) ออกแบบการทดลองเป็นแบบ factorial design โดยเลี้ยงที่ความเค็ม 3 ระดับ (10,20 และ 30 ppt) ให้อาหารสำเร็จรูปผสมกับออกซีเททราชัยคลิน 4 ระดับ (0, 1,5 และ 10 กรัมต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม) โดยให้อาหารผสมออกซีเททราชัยคลินเป็นเวลา 14 วันต่อเนื่องกัน หลังจากนั้นให้อาหารสำเร็จรูปธรรมดา ทุกชุดการทดลองทำ 3 ซ้ำ สุ่มตัวอย่างกุ้งหลังจากให้อาหารผสมออกซีเททราชัย คลินและวัดการขับถ่ายแอมโมเนีย ทุก ๆ 72 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง และสุ่มตัวอย่างกุ้งเพื่อวิเคราะห์ปริมาณตกค้างโดยเทคนิค HPLC ที่ 1, 7, 14 และ 16 วันของการเลี้ยง การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการขับถ่ายแอมโมเนียของกุ้งมีอิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเค็มกับปริมาณออกซีเททราชัยคลิน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเค็มกับระยะเวลาที่ได้รับออกซีเททราชัยคลิน ที่ความเค็ม 10 ส่วนในพันส่วน ปริมาณออกซีเททราชัยคลิน 1 และ 10 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม กุ้งกุลาดำมีการขับถ่ายแอมโมเนียน้อยกว่าที่ปริมาณ 0 และ 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ที่ความเค็ม 20 และ 30 ส่วนในพันส่วน ปริมาณออกซีเททราชัยคลินไม่มีผลต่อการขับถ่ายแอมโมเนียของกุ้ง ส่วนการตกค้างในเนื้อกุ้งพบว่าขึ้นอยู่กับปริมาณออกซีเททราชัยคลินที่ได้รับ ปริมาณการตกค้างมีมากที่สุดในกุ้งที่ได้รับออกซีเททราชัยคลิน 10 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม รองลงมาคือที่ 5 และ 1 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยที่ความเค็มและระยะเวลาไม่มีผลต่อการตกค้างของออกซีเททราชัยคลิน
Other Abstract: Effects of oxytetracycline and salinity on ammonia excretion and tissue residue of black tiger shrimp Penaeus monodon (10-13 g: 2-2.5 months) were studied using factorial design with 3 levels of salinity (10,20 and 30 ppt) and 4 levels of oxytetracycline added in artificial diet (0,1,5 and 10 g/ 1 kg diet). Experiment were carried out in triplicates. The samples were randomly collected to determine excretion every 72 hours (3,6,9 and 12 cays after fed). For tissue residue determination the samples were randomly collected at 1,7,14 and 16 days after fed. The studies revealed that the effect of salinity was pronounced. There were interaction between salinity and dosage and between salinity and duration that oxytetracycline has been administered, on ammonia excretion. At salinity 10 ppt. dose 1 and 10 g/ 1 kg diet ammonia excretion was lower than in the shrimps fed with dose 0 and 5 g/ 1 kg diet. No effects of dose found on ammonia excretion at salinity 20 and 30 ppt. Tissue residue depended mainly on dosage. The residue were highest at dose 10 g/ 1 kg diet and lower at smaller dosage respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68127
ISBN: 9743323554
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanungnit_li_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ907.09 kBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_li_ch1_p.pdfบทที่ 11.24 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_li_ch2_p.pdfบทที่ 21.08 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_li_ch3_p.pdfบทที่ 31.02 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_li_ch4_p.pdfบทที่ 4729.62 kBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_li_ch5_p.pdfบทที่ 5647.85 kBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_li_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.